หลักการปฐมพยาบาลและบำบัดรักษาเบื้องต้น
ก็เจ็บคักอยู่ แต่บ่หู้ว่าจิเฮดยังได๋????
เชื่อว่าหลายคนคงจะมีความรู้สึกแบบนี้เมื่อมีการออกกำลังกายแล้วบาดจ็บ
ก็งงๆ ไม่รู้จะปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไรดี
วันนี้เรามีข้อมูลในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการบำบัดรักษามาแนะนำครับ
การออกกำลังกายและเล่นกีฬาในปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมจากประชาชนมากขึ้น
และแน่นอนเมื่อทำกิจกรรมก็ย่อมมีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากมากขึ้น
ซึ่งการบาดเจ็บก็จะทำให้มีประสิทธิภาพลดลง
เกิดการบาดเจ็บเรื้อรังตามมาทำให้เล่นกีฬาได้ไม่เต็มที่หรืออาจเล่นไม่ได้
ดังนั้นหากมีดูแลหรือบำบัดเบื้องต้นที่ถูกต้องต่อการบาดเจ็บที่จากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย
ก็จะช่วยให้การบาดเจ็บหายเร็วขึ้นและสามารถกลับไปเล่นกีฬานั้นๆได้อีกด้วยความปลอดภัย
โดยหลักการปฐมพยาบาลและบำบัดรักษา แบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1. ระยะแรก ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง ให้ใช้หลัก “RICE”
R =
Rest ให้พักโดยเฉพาะส่วนที่บาดเจ็บ
I =
Ice ใช้น้ำแข็งประคบส่วนที่บาดเจ็บ ครั้งละ 20 – 30 นาที วันละ 2 – 3 ครั้ง
C =
Compression พันกระชับส่วนนั้นด้วยม้วนผ้ายืด ควรใช้สำลีรองก่อน
หลักการพันคือพันจากส่วนปลายมาหา ส่วนต้น (เวลานอนไม่ต้องพัน)
E =
Elevation ยกส่วนที่บาดเจ็บให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ
เพื่อช่วยให้เลือดไหลกลับหัวใจ เป็นการช่วยลดอาการปวดบวม
2. ระยะที่สอง นานเกิน 24 -48 ชั่วโมง
ผู้บาดเจ็บเริ่มทุเลาแล้ว จะใช้ความร้อนและวิธีทางกายภาพบำบัด โดยใช้หลัก “HEAT”
H =
Hot ใช้ความร้อนประคบ โดยเฉพาะความร้อนลึก (เป็นเครื่องมือทางกายภาพบำบัด)
หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนก็ได้
E =
Exercise ลองขยับเขยื้อนส่วนที่บาดเจ็บดูเบาๆ เป็นการบริหารส่วนที่บาดเจ็บและทำการบีบนวดไปด้วย
A =
Advanced Exercise ระยะหลังๆ บริหารให้มากขึ้น
อาจมีผู้ช่วยในการบริหารส่วนที่บาดเจ็บ หรือใช้อุปกรณ์ช่วยในการออกกำ ลังกาย
T =
Training for Rehabilitation เป็นการฝึกเพื่อช่วยฟื้นสภาพจากการบาดเจ็บให้กลับสู่สภาพปกติ
ซึ่งจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดโดยตรง
สรุป
จากบทความนี้หวังว่าจะได้ความรู้ความเข้าใจมากขึ้น เมื่อได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา
2.และหลังจากนั้นหากอาการดีขึ้นให้ใช้การบำบัดรักษาเพื่อฟื้นฟูโดยใช้หลัก HEAT
3.โดยการจะปฏิบัติอะไรก็ตามควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้วยครับ
4.และหากไม่อยากบาดเจ็บบ่อยๆ
ไปดูวิธีการป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาโดยใช้การยืดเหยียดตามบล็อกนี้ Dynamic Stretching การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบเคลื่อนไหว
แหล่งอ้างอิง
1.การพยาบาลผู้ป่วยจากการเล่นกีฬา. mis.nkp-hospital.go.th/institute/admInstitute/nFile/sID2016-07-21_125447.ppt
2.วรรธนะ แถวจันทึก.
การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา http://www.natui.com.au/articles/item/
ผู้เขียน: ศุภนิธิ ขำพรหมราช(อ.ป๊อป) อาจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และผู้ก่อตั้ง POP Fitness Studio
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น