การจัดการสถานที่และอุปกรณ์ในศูนย์ฟิตเนส

การจัดการศูนย์ฟิตเนส (Fitness Center Management)
บทที 3 การจัดการสถานที่และอุปกรณ์ในศูนย์ฟิตเนส
รายละเอียด ศึกษาเกี่ยวกับกฏระเบียบต่างๆในการจัดการศูนย์ฟิตเนสให้มีมาตรฐาน ขนาดของพื้นที่ จุดรับรองผู้มาใช้บริการ จุดออกกำลังกาย รวมถึงห้องออกกำลังกาย ห้องพักพนักงาน และอุปกรณ์ภายในศูนย์ฟิตเนส รวมถึงการรักษาและดูแลความสะอาดศูนย์ฟิตเนส
เนื่องจากปัจจุบันมีสถานออกกําลังกายเกิดขึ้นมากมาย แต่ละแห่งมีมาตรฐาน และการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการและพัฒนาสถานประกอบการ สมาคมวิทยาลัยเวชศาสตร์กีฬาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้จัดทําหนังสือ ACSM’s Health/ fitness facility standards and guidelines เพื่อแนะนํามาตรฐานสําหรับสถานออกกําลังกาย ซึ่ง ACSM เป็นองค์กรผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการออกกําลังกายและอุปกรณ์ออกกําลังกายที่ได้รับการ ยอมรับโดยส่วนใหญ่โดยอาจแบ่งมาตรฐานออกเป็นด้านต่างๆได้ ดังนี้(ฉัตรชัย มะสุนสืบ, 2549) 
1. มาตรฐานด้านสถานที่/ ตัวอาคาร
- ความปลอดภัยทั่วไปของสถานที่ผู้ประกอบการต้องทราบถึงกฎระเบียบของ การก่อสร้างอาคารสถานที่ตามที่เขตหรือท้องที่กําหนดให้ถูกต้อง
 - ตัวอาคารต้องปลอดภัยต่อผู้มาใช้บริการในสถานที่ ทั้งอาคาร ทางเดินเข้าตัวอาคาร รวมถึงที่จอดรถ 
 - ควรมีป้ายหรือเครื่องบ่งชี้ต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น ป้ายทางเข้า-ออก พื้นที่อันตราย ป้ายสัญลักษณ์และแผนผังสถานที่ประกอบการ
 - พื้นที่ทุกส่วนในสถานประกอบการ ต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอ 
- ตัวอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ หรือสิ่งที่เป็นวัตถุใหญ่ต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ต้องได้รับ การตรวจสภาพอย่างสม่ําเสมอและดูแลสถานที่ให้ปลอดภัยอยู่เสมอ 
- สําหรับพื้นที่ภัยในส่วนต่าง ๆ ของสถานประกอบการ ผู้ประกอบการจะต้องทําการ ตรวจตราเพื่อให้แน่ใจว่าพื้นส่วนต่าง ๆ เหมาะสมสําหรับกิจกรรมนั้น ๆ ในแต่ละพื้นที่ เพื่อป้องกัน การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากการลื่นล้มและพื้นที่ต่าง ๆ ควรได้รับการออกแบบให้เหมาะสมสําหรับ กิจกรรมนั้น ๆ 
- สถานประกอบการต้องทําตามกฎระเบียบของเขตเกี่ยวกับความปลอดภัยในอัคคีภัย ต่าง ๆ เช่น ต้องมีเครื่องส่งสัญญาณเตือนอัคคีภัย อุปกรณ์ดับไฟรวมถึงระบบการดับไฟแบบหัวฉีด 
- ในพื้นที่ที่ผู้ใช้สามารถใช้เครื่องไฟฟ้า จะต้องมีระบบสายดินรวมถึงจะต้องมีตัวตัด ไฟฟ้ากรณีไฟฟ้าลัดวงจรได้ทันที
 - ในพื้นที่ที่มีความชื้น เช่น ห้องซาวน่า จะต้องมีเครื่องมือตัดไฟฟ้าฉุกเฉิน ในกรณีเกิด เหตุขัดข้อง และควรมีการตรวจสภาพอย่างสม่ําเสมอ ไม่ควรมีวัตถุที่เป็นเหล็กหรือสื่อนําความร้อน ในห้องเหล่านี้ 

- ทางเดินจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางหนีไฟ โดยทางเดินควรมีความ กว้างอย่างน้อยไม่ต่ํากว่า 60 นิ้ว
2. มาตรฐานห้องออกกําลังกาย 
สถานออกกําลังกายครบวงจรโดยทั่วไปมีการให้บริการห้องออกกําลังกายแบบเป็นกลุ่ม ที่มีการควบคุมโดยผู้ฝึกสอน ซึ่งจะเน้นความสนุกสนาน ความผ่อนคลาย เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับ ความนิยมเป็นอย่างสูง การออกกําลังกายแบบกลุ่มที่นิยมโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น ห้องออกกําลังกาย 3 ห้อง ดังนี้ 
2.1 ห้องแอโรบิก 
มีบริการออกกําลังกายเข้าจังหวะในบรรยากาศสนุกสนาน มีแสง สีเสียง ที่เร้าใจเหมาะกับการเข้าจังหวะ อาทิเช่น Body combat, Body pump, aerobic dance, aerobic step,Zumba ป็นต้น 
2.2 ห้องปั่นจักรยาน (Spinning) 
เป็นการออกกําลังกายที่เป็นการประยุกต์การปั่นจักรยานจังหวะเข้าด้วยกัน ในห้องปั่นจักรยานนี้มีบรรยากาศที่เต็มไปด้วย แสง สี เสียง ซึ่งทําให้เกิดความเร้าใจและสนุกสนาน 
2.3 ห้องโยคะหรือห้องที่ฝึกความอ่อนตัว/ยืดเหยียด 
ให้บริการการสอนที่เน้นเกี่ยวกับจิตใจ การยืดเหยียดให้สมดุลกัน ควบคุมดูแลโดยผู้ฝึกสอนที่ได้รับ ประกาศนียบัตร เช่นโยคะ, โยคะร้อน, โยคะฟลาย, พิลาทีส
โดยมาตรฐานห้องออกกําลังกายที่ควรมี คือ 
- สถานประกอบการควรมีพื้นที่เพียงพอสําหรับการตั้งเครื่องมือออกกําลังกายด้าน สมรรถภาพหัวใจ เครื่องมือเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และพื้นที่สําหรับการยืดกล้ามเนื้อ
- การออกแบบพื้นที่ควรมีเนื้อที่อย่างต่ํา 20ถึง 40 ตารางฟุต สําหรับเครื่องมือออกกําลัง หนึ่งเครื่อง 
- ควรออกแบบเนื้อที่ประมาณ 20-25 ตารางฟุต สําหรับผู้ใช้บริการหนึ่งคน 
- พื้นที่ออกกําลังกาย ควรมีพื้นที่เหมาะสม 
- กําหนดให้มีการแนะนําสถานที่ทางหนีไฟ และทางออกอื่น ๆ แก่สมาชิก รวมถึง การให้คําแนะนําในเครื่องมือ ตําแหน่ง รวมถึงกําหนดผู้ที่มีหน้าที่ดูแลในห้องออกกําลังกายใน แต่ละวัน 
สถานออกกําลังกายครบวงจรในประเทศไทย โดยทั่วไปจะให้บริการโซนออกกําลังกายสามารถแบ่งเป็น 4 โซนหลัก ดังนี้ 
- โซนพัฒนาระบบไหลเวียนเลือด (Cardiovascular Zone) 
เหมาะสําหรับการออกกําลังกายทุกส่วนและเผาผลาญแคลอรี่ เช่น Stair climbers,Stepper, Elliptic movement, Treadmill, Upright & recumbent bicycle, Cross trainer 
- โซนแมชชีน เวต (Machine Weight Zone) 
คืออุปกรณ์ที่ออกกําลังกายโดยมีอุปกรณ์ขนาดใหญ่ฝึกแรงต้านทานอยู่กับที่ เช่น Body master, Cyber flex, Hammer strength, Life fitness, Sprint 
- โซนฟรีเวต (Free weights Zone) 
คือ อุปกรณ์ที่เป็นชิ้นเดี่ยวโดยมากเป็นอุปกรณ์ฝึกแรงต้านทานที่เคลื่อนไหวได้อิสระในการยกน้ําหนัก
 เช่น Dumbbell, Barbell เหมาะสําหรับการออกกําลังกายเฉพาะส่วน
- โซนฟังชั่นนอล เทรนนิ่ง (Funtionnal training Zone) 

คือโซนฝึกที่เลียนแบบการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน มักจะเป็นพื้นที่โล่งๆ เพื่อให้เคลื่อนไหวอิสระได้เต็มที่ อุปกร์ เช่น TRX, Vipr, Bosu ball, Kettle bell เป็นต้น
3. มาตรฐานสําหรับอุปกรณ์และเครื่องมือออกกําลังกายต่าง ๆ 
- เครื่องมือออกกําลังกายทุกเครื่องจะต้องได้รับการตรวจสอบก่อนการติดตั้งเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อบกพร่องใด ๆ ก่อนจะใช้ 
- เครื่องมือทุกเครื่องจะต้องได้รับการติดตั้งและจัดวางตามคําแนะนําของผู้ผลิตหรือ ผู้เชี่ยวชาญและต้องมีการตรวจสอบก่อนใช้อย่างละเอียด 
- สถานประกอบการจะต้องมีคําแนะนําและเครื่องหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ ต่าง ๆ เป็นภาษาไทยที่เหมาะสม โดยประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของเครื่องมือ คําแนะนําในการใช้ อย่างละเอียด คําเตือนที่เป็นอักษร รูปภาพและสี สําหรับอันตรายที่อาจจะเกิดได้จากการใช้เครื่องมือ นั้น ๆ 
- สถานประกอบการต้องให้คําแนะนําในการใช้เครื่องมืออย่างต่อเนื่อง และต้องหมั่น ดูแลการใช้เครื่องมือของผู้ใช้ตลอดเวลา 
- ควรมีการวางแผนการเคลื่อนย้ายวัตถุอันตรายหรือเครื่องออกกําลังกายที่ชํารุด เสียหาย ออกจากพื้นที่จนกว่าจะได้รับการซ่อมแซมและทดสอบจนใช้ได้ 
4. มาตรฐานด้านสมาชิกและการบริการสมาชิก 

- ผู้ประกอบการต้องมีขั้นตอนการตรวจสุขภาพสําหรับสมาชิกทุกท่านก่อนการใช้ บริการด้วยเครื่องมือที่เชื่อถือได้ในการตรวจ เช่น เครื่องชั่งน้ําหนัก เครื่องมือวัดความดันโลหิต เครื่องมือวัดไขมันและแบบสอบถามประวัติสุขภาพ 
- หากสมาชิกรายใดที่ตรวจแล้วพบว่ามีปัญหาด้านสุขภาพและอาจจะมีความเสี่ยงใน การเกิดอันตรายจากการออกกําลังกายได้จะต้องได้รับการแนะนําให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับบริการ 
- หากตรวจสุขภาพแล้ว พบว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีความผิดปกติทางร่างกายบุคคล นั้นจะต้องไปพบแพทย์ก่อนอนุญาตให้ใช้บริการ  
- ผู้ประกอบการต้องทําการแจ้งข้อมูลแก่สมาชิกถึงผลของการตรวจสุขภาพ การแจ้ง ข้อมูลต้องแจ้งทั้งผลดีและความเสี่ยงของอันตรายอันอาจจะเกิดจากการออกกําลังกาย 
- ต้องมีการกําหนดในขั้นตอนการตรวจสุขภาพว่าบุคคลใดที่จําเป็นต้องใช้ใบรับรอง แพทย์ก่อนการใช้บริการ 
5. มาตรฐานด้านความปลอดภัยและขั้นตอนกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน 
- สถานประกอบการจะต้องทําการตรวจและบํารุงรักษาเครื่องมือทุกชิ้นเพื่อหลีกเลี่ยง การเกิดอุบัติเหตุจากอุปกรณ์ต่าง ๆ 
- ต้องมีจุดน้ําดื่มสําหรับสมาชิกในจุดที่ใกล้เคียงและเพียงพอ 
- สถานประกอบการต้องมีการทําความสะอาดเพื่อทําให้ห้องออกกําลังกายสะอาดและ ถูกหลักอนามัย 
- สถานประกอบการจะต้องทําทางเข้าออกให้ปลอดภัย อย่างน้อยทางออกต้องกว้าง 3ฟุต 
- สถานประกอบการจะต้องมีแผนการสําหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน 
- แผนการฉุกเฉินจะต้องมีการเตรียมพร้อมสําหรับการเข้าไปในอาคารได้ในทุกส่วน รวมถึงการวางแผนการรักษาผู้บาดเจ็บด้วย 
- ในแผนการฉุกเฉินต้องมีการเตรียมความพร้อมสําหรับการบันทึกเหตุการณต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ทําการประเมินผลอย่างเป็นขั้นตอนภายหลังได้ 
- ในแผนการฉุกเฉินต้องมีเบอร์ติดต่อสถานรักษาพยาบาลใกล้เคียงได้ 
- ต้องมีการซ้อมแผนฉุกเฉินประมาณ 2ครั้งต่อปี 
- พนักงานทั้งหมดต้องเข้าร่วมซ้อม 
- ในการซ้อมทุกครั้งต้องมีการเขียนรายงานเพื่อการพิจารณาและการทําข้อเสนอแนะ ในการซ้อมครั้งต่อไป 
- สถานประกอบการต้องมีกล่องหรือเครื่องมือปฐมพยาบาลประจําไว้ที่สถานประกอบการ ตลอดเวลา 
- ตําแหน่งของอุปกรณ์ปฐมพยาบาลต้องแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด และหยิบง่ายในเวลาที่ ต้องการใช้ 
- กล่องปฐมพยาบาลต้องง่ายต่อการเคลื่อนย้าย 
- เครื่องมือต่าง ๆ ในกล่องต้องได้รับการตรวจสอบทุกเดือน นอกจากนั้น กฎหมายของหลายมลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กําหนดให้สถาน ออกกําลังกายต้องมีอุปกรณ์เครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า ที่เรียกว่า Automated external defibrillator 17 หรือ AED และจะต้องมีผู้ที่สามารถใช้เครื่องดังกล่าวเป็น โดยผลจากการบันทึกของ The American Heart Association ปรากฏว่า เครื่องดังกล่าวสามารถช่วยป้องกันผู้เสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้น กะทันหันได้เป็นจํานวนมาก ประเด็นที่สําคัญในการกําหนดมาตรฐานของสถานออกกําลังกายคือ จะต้องคํานึงถึงความปลอดภัยและสุขภาพของผู้ใช้บริการเป็นหลัก 
6. มาตรฐานของพนักงานในสถานออกกําลังกาย พนักงานสถานออกกําลังกาย 
ในฟิตเนสขนาดใหญ่ของประเทศไทยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
6.1 พนักงานขาย(membership consultant)  
ที่ทําหน้าที่การขายสมาชิกให้กับลูกค้าผู้มาใช้บริการ โดยสถานออกกําลังกายแต่ละแห่งจะมีการใช้พนักงานขายเป็นปัจจัยจูงใจให้มาสมัครสมาชิก รวมถึงแจ้งถึง สิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่ลูกค้าจะได้รับเมื่อสมัครสมาชิก 
6.2 พนักงานต้อนรับ (receptionist or front of house)
ที่ทําหน้าที่ต้อนรับลูกค้าที่มาใช้บริการ  โดยสถานออกกําลังกายแต่ละแห่งจะมีพนักงานต้อนรับ คอยให้ข้อมูล และคำแนะนำต่างๆเกี่ยวกับใช้บริการ รวมถึงรับฟังปัญหาต่างๆของสมาชิกผู้มาใช้บริการ เพื่อนำไปแก้ไขต่อไป
6.3 พนักงานให้คําแนะนําการออกกําลังกาย (Fitness Instructor) 
หรือ ผู้ฝึกสอนส่วนบุคคล (Personal trainer) ซึ่งจะแนะนําวิธีการออกกําลังกายที่ถูกต้องให้กับผู้มาใช้บริการ สถานออกกําลังกายแห่งใหญ่ๆ จะมีผู้ฝึกสอนส่วนบุคคลให้บริการคอร์สฝึกสอนส่วนบุคคล (Personal training course) ทั้งนี้พนักงานที่เป็นผู้ฝึกสอนส่วนบุคคล (Personal trainer) ซึ่งมีหน้าที่ในการแนะนําวิธีการออกกําลังกายให้กับผู้ใช้บริการนั้น มีความสําคัญอย่างมาก ดังนั้นผู้ที่จะมาทําหน้าที่ดังกล่าว จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพเกี่ยวกับการกีฬา โดยในประเทศไทยมี หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวกับการกีฬา อาทิเช่น หลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การกีฬาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ดังนั้น สถานออกกําลังกายจึงควรกําหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาทําหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนส่วนบุคคล (Personal trainer) ซึ่งจบหลักสูตรตามที่กล่าวมาข้างต้นหรือหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนสําหรับเป็นผู้ฝึกสอนออกกําลังกาย เพื่อทําหน้าที่ในการแนะนําช่วยเหลือผู้ใช้บริการสถานออกกําลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้บริการ และผู้เป็นผู้ฝึกสอนส่วนบุคคลต้องเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมตามหลักสูตรผู้ฝึกสอนการออกกําลังกายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีการจัดการอบรมช่วยชีวิต/กู้ชีพขั้นพื้นฐานจากหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน 

ความคิดเห็น