สภาวะฝึกเกิน (Overtraining)

เสมือนทองฟ้าวิปริตแปรปรวนทันใด????

รู้สึกไม่อยากออกกำลังกายมั้ยครับ เราฝึกมากไปรึป่าว เอ๊ะ!หรือแค่ขี้เกียจ ดังนั้นมาทำความรู้จักกับคำว่า overtraining กันครับ
Overtraining คือการฝึกซ้อมเกินที่ร่างกายจะรับไหวหรือเรียกว่าสภาวะฝึกเกิน 
อย่างไรก็ตามจะเป็นสภาวะของการฝึกเกินได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ทำให้นักกีฬาแสดงความสามารถของเขาได้ต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งยังไม่มีเหตุผลที่แสดงได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากอะไร หากฝึกซ้อมหนักและพักผ่อนไม่เพียงพอก็อาจทำให้การฟื้นสภาพของนักกีฬานั้นเกิดได้ไม่เต็มที่ ความสามารถในทางกีฬาหรือประสิทธิภาพก็จะต่ำลง โดยแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่โดยรวมแล้วเรียกกลุ่มอาการเหล่านี้ว่า อาการของสภาวะฝึกเกิน 
สาเหตุหลักๆของการสภาวะฝึกเกิน
1.ความเข้มข้นของโปรแกรมฝึกมากเกินไป เช่น ฝึกหนักเกินไป นานเกินไป บ่อยเกินไป มากเกินไป ใช้เทคนิคเพิ่มความเข้มข้นมากเกินไป เป็นต้น
2.โภขนาการที่ไม่ดี ทำให้ระบบการฟื้นตัวและเสริมสร้างช้าลง แม้จะฝึกด้วยความเข้มข้นปกติก็ตาม
3.การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ เช่น การนอนหลับในแต่ละวันไม่เพียงพอ
4.ภาวะเสี่ยงในการดำเนินชีวิต เช่น ความเครียด ภูมิแพ้ โรคภัยไข้เจ็บ 
ข้อสังเกตของอาการฝึกเกิน
1.เหนื่อยล้าง่ายผิดปกติ แรงตก
2.นอนไม่หลับ
3.เบื่ออาหาร
4.รู้สึกเบื่อการฝึก ขาดแรงจูงใจในการฝึก
5.สมาธิสั้นลง หงุดหงิดง่าย

ลำดับของสภาวะฝึกเกิน(Stage of Overtraining)กับการพักฟื้น

ความเมื่อยล้าและการที่ความสามารถลดนั้นเป็นเรื่องปกติของการฝึกซ้อมกีฬา จะมีการลดลงโดยแบ่งเป็น 4 ระดับดังนี้  
1.อาการเมื่อยล้าทันที (Acute Fatigue) จะมีอาการเมื่อยล้าใช้เวลาพักฟื้นประมาณ1-2วัน 
สภาวะสุดเอื้อม (Overreaching) ก็จะหมายถึงการล้ามากๆ พักแล้วก็ยังไม่ฟื้นสภาพอีก นั่นก็คือสภาวะสุดเอื้อมหรือล้าถึงที่ร่างกายไม่สามารถพัฒนาไปต่อได้ จะแบ่งเป็น2แบบคือ
2. Functional Overreaching ต้องใช้เวลาพักฟื้นหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์
3. Nonfunctional Overreaching ต้องใช้เวลาพักฟื้นหลายสัปดาห์จนถึงเป็นเดือน
4. Overtraining Syndrome คืออาการขั้นสุดท้ายของการล้า ที่จะทำให้ประสิทธิภาพหรือความสามารถทางการกีฬาต่ำ ต้องใช้เวลาพักฟื้นหลายเดือน

สภาวะฝึกเกิน (Overtraining)  กับการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพในด้านต่างๆของร่างกาย

1.Acute Fatigue ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพหรือความสามารถทางการกีฬายังคงเดิมแต่ไม่เพิ่มขึ้น และจะมีผลต่อระบบประสาทเล็กน้อย
2. Functional Overreaching จะมีผลต่อประสิทธิภาพหรือความสามารถทางการกีฬาลดลง ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อมีการเปลี่ยนแปลง
3. Nonfunctional Overreaching จะทำให้ประสิทธิภาพหรือความสามารถทางการกีฬา ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ และระบบเผาผลาญ ระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด ภูมิต้านทาน ระบบต่อมไร้ท่อ และผลทางด้านสภาพจิตใจมีการทำงานที่ลดลง 
4. Overtraining Syndrome จะทำให้ประสิทธิภาพหรือความสามารถทางการกีฬาต่ำ ระบบกล้ามเนื้อผลิตแรงได้น้อย ความสามารถในการผลิตไกลโคเจนลด เกิดการเจ็บป่วย มีสภาวะทางอารมณ์ผันแปรง่ายเช่นอาจนอนไม่หลับ

ดังนั้นหากรู้สึกไม่อยากออกกำลังกาย เบื่อ สภาพจิตใจไม่ดี อาจสันนิษฐานว่าเราฝึกมากไปหรือ overtraining ได้ครับ ส่วนอยู่ในระดับใด ลองพักฟื้น หาอะไรอย่างอื่นทำที่ทำให้สภาพจิตใจดีขึ้น ฝึกกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆแทน ก็อาจทำให้ฟื้นฟูกลับมาได้ครับ
แหล่งอ้างอิง
2.การฝึกหนักมากเกินไป (overtraining) http://www.cyclingsupportz.com/th/2016/09/26/118-th/
3.Overtraining คืออะไร หลีกเลี่ยงได้ยังไงบ้าง? https://www.duckingtiger.com/how-to-avoid-overtraining/
6.ภาวะของการฝึกเกิน (Overtraining Syndrome) https://www.vinasport.co.th/overtraining-syndrome/
7.https://twitter.com/YLMSportScience

ความคิดเห็น