ระบบประสาท(Nervous System)

ระบบประสาท(Nervous System)

เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มาจากภายนอกทั้งหมด ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกจากบริเวณต่างๆ ของร่างกาย และส่งคำสั่งออกมาให้กล้ามเนื้อทำงาน เป็นระบบที่มีความซับซ้อน
หน้าที่ของระบบประสาท
-ควบคุมอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานประสานกัน
-ควบคุมความคิดอ่าน การพูด การแปลความหมาย
-ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เกิดสมดุล
-รับความรู้สึกทุกสิ่งทุกอย่างจากภายนอก และตอบสนองต่อความรู้สึกนั้นๆ
-ช่วยควบคุมอวัยวะที่ทำให้มีชีวิต เช่น หัวใจ ปอด ให้ทำงานเป็นปกติ และมีความสม่ำเสมอ

1.ระบบประสาทแบ่งตามตำแหน่งที่พบ

1.ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System = CNS)ได้แก่ สมอง (Brain) ไขสันหลัง (spinal cord)
สมอง (Brain) 
ทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว,พฤติกรรมและรักษาสมดุลภายในร่างกาย หน้าที่ของสมองยังเกี่ยวข้องกับการรู้ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว และความสามารถอื่นๆที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
ส่วนประกอบ สมองของมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น ส่วนดังนี้
1.สมองส่วนหน้า (forebrain) ประกอบด้วย

ซีรีบรัม (cerebrum) เป็นสมองส่วนหน้าสุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ความนึกคิด ไหวพริบ และความรู้สึกผิดชอบ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ เช่น ศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ การรับสัมผัส การพูด การมองเห็น เป็นต้น
ทาลามัส (thalamus)เป็นส่วนที่อยู่ด้านหน้าของสมองส่วนกลางหรืออยู่ข้าง ๆ โพรงสมอง ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่อยทอดกระแสประสาทที่รับความรู้สึก ก่อนที่จะส่งไปยังสมองที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้น
-ไฮโพทาลามัส (hypothalamus)สมองส่วนนี้อยู่ใต้ส่วนทาลามัส ซึ่งอยู่ด้านล่างสุดของสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ การนอนหลับ ความดันเลือด ความหิว ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ เช่น อารมณ์เศร้าโศกเสียใจ เป็นต้น
2.สมองส่วนกลาง (Midbrain) 
เป็นส่วนที่ต่อจากสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา เช่น ทำให้ลูกตากลอกไปมาได้ ปิดเปิดม่านตาขณะที่มีแสงเข้ามามากหรือน้อย
3. สมองส่วนท้าย (hindbrain) สมองทั้ง 3 ส่วนนี้รวมเรียกว่า ก้านสมอง (brain stem)ประกอบด้วย
-ซีรีเบลลัม (cerebellum) 
อยู่ใต้ส่วนล่างของซีรีบรัมทำหน้าที่ในการดูแลการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ ให้ประสานสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมและราบรื่น อีกทั้งยังเป็นตัวรับกระแสประสาทจากอวัยวะควบคุมการทรงตัว ซึ่งอยู่ในหูชั้นใน และจากข้อต่อและกล้ามเนื้อต่าง ๆ ซีรีเบลลัมจึงเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
-พอนส์ (pons) 
เป็นส่วนของก้านสมองที่อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัมติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ควบคุมการหายใจ การฟัง
-เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata
เป็นสมองส่วนท้ายสุด ซึ่งตอนปลายของสมองส่วนนี้ต่อกับไขสันหลัง จึงเป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง นอกจากนี้เมดัลลา ออบลองกาตายังทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ การหมุนเวียนเลือด การกลืน การไอ การจาม เป็นต้น
ไขสันหลัง (Spinal Cord)
หน้าที่ คือ ส่งกระแสประสาท (neural signals) ระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย โดยไขสันหลังเอง ยังสามารถควบคุมการเกิดรีเฟลกซ์ (reflex) เช่นการยกขาทันทีเมื่อเผลอเหยียบตะปู และศูนย์สร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวกลาง (central pattern generator)
ไขสันหลัง (spinal cord) คืออวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อยาวผอม ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสาทเป็นส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ เซลล์ประสาท(neuron)และเซลล์เกลีย(glia)หรือเซลล์ที่ช่วยค้ำจุนเซลล์ประสาท ซึ่งไขสันหลังจะเป็นส่วนที่ยาวต่อลงมาจากสมอง(brain) 
2.ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System = PNS) ได้แก่ เส้นประสาทที่แยกออกมาจากสมองและไขสันหลัง
ประกอบไปด้วย
1.ประสาทสมอง(Cranial nerve) มี 12 คู่ ทอดออกมาจากพื้นล่างของสมองผ่านรูต่างๆที่พื้นของกะโหลกศีรษะ ประสาทสมองบางคู่จะทำหน้าที่รับความรู้สึก (Sensory nerve) บางคู่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Motor nerve) บางคู่จะทำหน้าที่ทั้งรับความรู้สึกและทำการเคลื่อนไหว (Mixed nerve)
2.ประสาทไขสันหลัง เส้นประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังมีทั้งหมด 31 คู่ เป็นเส้นประสาทประสม(mixed never)แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5บริเวณดังนี้
เส้นประสาทบริเวณคอ (cervical never) 8 คู่
เส้นประสาทบริเวณอก (thoracal never) 12 คู่
เส้นประสาทบริเวณเอว (lumbar never) 5 คู่
เส้นประสาทบริเวณกระเบนเหน็บ (sacral never) 5 คู่
เส้นประสาทบริเวณก้นกบ (coccygeal never) 1 คู่

2.ระบบประสาทแบ่งตามหน้าที่การทำงาน  

การทำงานของระบบประสาทแยกได้เป็น 2 ระบบ คือ ระบบประสาทที่ทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ และนอกอำนาจจิตใจ ดังนี้
1.ระบบประสาทที่ทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary nervous system)หรือSomatic nervous system(SNS)  
ระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system = SNS)เป็นการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลายโดยเริ่มจากหน่วยรับความรู้สึก รับกระแสประสาทเข้าสู่เส้นประสาทไขสันหลังแล้วส่งต่อไปยังสมอง หรือกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกส่งเข้าสมองโดยตรง จากนั้นสมองจะส่งกระแสประสาทนำคำสั่งออกมาทางเส้นประสาทสมอง หรือเส้นประสาทไขสันหลังไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลาย หรือกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูก ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ภายในอำนาจจิตใจ (Voluntary) เช่น บังคับให้เดิน นั่ง ยืน คือเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวหรือทรงตัวซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับของสมองส่วนเซรีบรัม
ดังนั้น ระบบประสาทโซมาติก จึงนำกระแสประสาทจากสมองหรือไขสันหลังออกไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งได้แก่ กล้ามเนื้อลายเป็นส่วนใหญ่ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก การทำงานของระบบประสาทโซมาติกมักอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary) 
แต่ก็มีการตอบสนองของกล้ามเนื้อลายที่เป็นปฏิกิริยารีเฟลกซ์ (reflex) คือการทำงานนั้นอยู่นอกอำนาจจิตใจโดยไม่ต้องผ่านสมอง เพียงแต่นำส่งกระแสประสาทจากอวัยวะรับความรู้สึกต่าง ๆ ผ่านเข้าไขสันหลัง และไขสันหลังส่งกระแสประสาทนำคำสั่งออกไปยังอวัยวะหรือกล้ามเนื้อ กิริยานี้เรียกว่า ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (reflex action) เช่น การกระตุกขาเมื่อถูกเคาะที่หัวเข่า หรือกระตุกขาหนีจากการเหยียบไฟ 
รีเฟล็กซ์ เป็นการตอบโต้เฉียบพลัน ดังนั้น การทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องจึงผ่านทาง Reflex arc ไม่มีการผ่านสมอง (ไม่ต้องใช้เวลาให้สมองคิดประเมินเพื่อการตอบสนอง) แต่จะผ่านเพียงระดับไขสันหลังที่ซึ่งจะสั่งการเป็นอัตโนมัติไม่มีกระบวนการคิดเข้ามาเกี่ยวข้อง
เมื่อเป็นการโต้ตอบจากการทำงานของกล้ามเนื้อภายนอกร่างกาย (กล้ามเนื้อลาย, Striated muscle เช่น กล้ามเนื้อแขน, ขา) เรียกว่า Somatic reflex เช่น 
-การเคาะเอ็นตรงกระดูกสะบ้า จะส่งผลให้ขาท่อนล่างกระตุกทันที 
-การที่มีสิ่งของเคลื่อนเข้าใกล้ลูกตา ร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบโต้โดยการหลับตาทันที 
2.ระบบประสาทที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ (Involuntary nervous system) หรือ Autonomic nervous system (ANS) 
เรียกระบบประสาทอัตโนมัติ(Autonomic nervous system = ANS) ป็นระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน โดยควบคุมกล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจ และอวัยวะของระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบขับถ่าย และระบบต่อมไร้ท่อ รวมถึงการตอบโต้โดยมีการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย เรียก ว่า Autonomic reflex เช่น เมื่อเห็นภาพที่ทำให้ตกใจกลัว ร่างกายจะโต้ตอบโดย หัวใจจะเต้นแรง หายใจแรง เหงื่อออกที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า การควบคุมนี้จึงเป็นการควบคุมที่นอกอำนาจจิตใจ (involuntary)  
ระบบประสาทอัตโนมัติ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
การเปรียบเทียบระบบประสาทพาราซิมพาเทติกและซิมพาติก
ประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nerve หรือ Thoracolumbar System) มีศูนย์กลางอยู่ที่ก้านสมอง (medulla) และไฮโปทาลามัส (hypothalamus) โดยระบบนี้จะทำงานควบคู่กับระบบซิมพาเธติก  กล่าวคือ  เมื่อระบบซิมพาเธติกทำงานสิ้นสุดลง ร่างกายพ้นจากสภาวะฉุกเฉินไปแล้ว  ระบบพาราซิมพาเธติกจะช่วยทำให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาวะปกติบางที่เรียกว่า ประสาทหลับ (Sleeping nerve)  เช่น  เส้นขนจะราบลง  ชีพจรหัวใจและความดันโลหิตจะกลับคืนสภาพเดิม  เป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้ต่อมอะดรีนัลหลั่งฮอร์โมนนอร์อะดีนาลีน (noradrenalin) เพื่อช่วยให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติอีกครั้ง
ประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nerve หรือ Craniosacral System) ศูนย์กลางอยู่บริเวณไขสันหลัง (Spinal cord) ประกอบด้วยเส้นประสาทที่ออกจากบริเวณไขสันหลังตั้งแต่อกจนถึงเอว  ระบบนี้จะทำงานในกรณีที่บุคคลตกอยู่ในสภาวะฉุกเฉินบางทีเรียกว่าประสาทตื่น (Exitatory nerve) ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาตื่นตัวเพื่อเตรียมพร้อมที่จะสู้หรือหนีจากสถานการณ์เหล่านั้น  ปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อระบบประสาทซิมพาเธติกทำงาน ได้แก่ ขนลุกตั้งชัน ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ  เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นเร็วและรัว ต่อมอะดรีนัล(adrenal gland) หรือต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน(adrenalin) เพื่อเพิ่มพลังงานพิเศษให้กับร่างกาย  เป็นต้น
สรุปการทำงานระบบประสาท
ภาพจากiDoctorhouse.com
แหล่งอ้างอิง
1.การทำงานของระบบประสาทและสมอง http://www.idoctorhouse.com/library/physio-neuro/
2.ระบบประสาทการออกกำลังกาย http://www.ipesp.ac.th/learning/Physiology/html/chapter2/Unit3_1_6.html
3.รีเฟล็กซ์ (Reflex)
4.โครงสร้างของระบบประสาท.http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/nervous/ch1/chapter1/part_4.htm
5.ระบบประสาท.http://nervousmwit.blogspot.com/
7.ระบบประสาทโซมาติก(Somatic nervous system หรือ SNS) ความสำคัญของระบบประสาทhttps://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/function_of_the_nervous_system/01.html
ผู้เขียน: ศุภนิธิ ขำพรหมราช(อ.ป๊อป) อาจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และผู้ก่อตั้ง POP Fitness Studio

ความคิดเห็น