การฝึกการทรงตัว (Balance Training)

Balance หมายถึง การทรงตัวหรือความสามารถในการควบคุมหรือรักษาให้ร่างกายให้มีความสมดุล ทั้งในขณะอยู่กับที่หรือเคลื่อนไหว โดยจุดศูนย์ถ่วงของร่างกาย (center of gravity) อยู่ภายในฐานรองรับ (base of support)
ความสมดุลในการทรงตัวของร่างกายเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน การทรงตัวต้องอาศัยการประสานงานระหว่างสมอง ระบบหูชั้นใน การมองเห็น และการรับรู้ของข้อต่อและกล้ามเนื้อ ระบบการมองเห็น การรับความรู้สึก และการทรงตัวของหูชั้นในจะถ่ายทอดข้อมูลของท่วงท่าและการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของศีรษะ สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ระบบประสาทและกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวตอบสนองต่อระบบรับความรู้สึกของร่างกายและการเปลี่ยนท่วงท่าต่างๆ
การทรงตัวมี 2 แบบ
1.การทรงตัวอยู่กับที่ (Static balance) เช่น การทำท่า Bird dog, การฝึกโยคะในบางท่า เป็นต้น
2.การทรงตัวในขณะเคลื่อนที่ (Dynamic balance) เช่น การกระโดขาคู่ไปด้านข้าง, กระโดดขาเดียวไปข้างหน้า
ประโยชน์ของการฝึกการทรงตัว
-ลดปัญหาและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ 
-ร่างกายมีความมั่นคงมากขึ้น (Stability)
-เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจากการบาดเจ็บข้อเท้าและเข่า
-ป้องกันการบาดเจ็บ
-เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความยืดหยุ่นของร่างกาย
การฝึกการทรงตัว (Balance Training)
มีหลายประเภท ใช้อุปกรณ์หรือไม่ใช่อุปกรณ์ก็ได้ เช่น การนั่งทรงตัวบนลูกบอล การเดินบนพื้นนุ่มและแข็ง การยืนลงน้ำหนัก 
การฝึกการทรงตัวแบบใช้อุปกรณ์
1.Fitball
2.Elastic Band or Resistance Band
3.Bosu Ball
4.Mini Fitball
5.Vipr
6.TRX
7.อุปกรณ์อื่นๆ เช่นไม้พลอง, FreeFoam
การฝึกการทรงตัวแบบไม่ใช้อุปกรณ์
1.ยืนขาเดียว
2.Head Stand
3.โยคะยืนขาเดียว
4.Bird Dog
5.Squat
แหล่งอ้างอิง
1.Professor Areerat Suputtitada,M.D.การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. Department of Rehabilitation Medicine,Faculty of Medicine, Chulalongkorn University,Bangkok,Thailand.
2. Stephen Kanter. Incorporating balance training into your rehabilitation protocol. Eastern Athletic Trainers Assosiation – Boston, MA. 8 - Jan-2005.
3. Sarayoot Mongkol. the effect of balance training by program Wii Fitwith Nintendo Wii and Wii Balance board in female obese people. Bulletin Chiang Mai Associatted Medical Sciences.Vol 46,No.1, Jan-2013.

ผู้เขียน: ศุภนิธิ ขำพรหมราช(อ.ป๊อป) อาจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และผู้ก่อตั้ง POP Fitness Studio

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น