Anaerobic Threshold (AT) หรือ Lactate Threshold (LT) คืออะไร

1.Anaerobic Threshold (AT) หรือ Lactate Threshold (LT) คืออะไร
อธิบายง่ายๆ คือจุดเริ่มล้าหรือจุดตัดของการออกกำลังกายที่ใช้ออกซิเจน(aerobic exercise) กับไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic exercise) หรือหมายถึงจุดที่ระดับความหนักในการออกกำลังกายทำให้ปริมาณความต้องการใช้ออกซิเจนสำหรับการสร้างพลังงานแอโรบิกมีมากกว่าปริมาณที่ร่างกายได้รับ ร่างกายจึงต้องใช้กลไกการสร้างพลังงานเชิงแอนแอโรบิกมาช่วยเสริมเป็นเหตุให้ระดับความหนักที่ระดับกรดแลคติคในเลือดมีปริมาณสูงขึ้นกว่าปกติ 
AT หรือ LTเป็นเหมือนกับผนังประตูบานสุดท้ายของร่างกาย (แต่ยังไม่ถึงลิมิต) ที่สามารถควบคุมสมดุลการเกิดแลคเตทและการใช้ใช้แลคเตทไว้อย่างคงที่ โดยในนักกีฬาแต่ละคนมี AT หรือ LT ไม่เหมือนกัน และที่AT หรือ LTของนักกีฬาแต่ละคน ก็จะออกแรงได้ไม่เท่ากัน (ใบทความนี้จะใช้คำว่า Lactate Threshold)
2.จุดหรือระดับความหนักที่ระดับกรดแลคติคในเลือดเริ่มมีปริมาณสูงมากกว่าปกติ อยู่ที่เท่าไร และจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีระดับกรดแลคติคในเลือดสูง

จุดที่บ่งชี้ว่าค่านี้อยู่ตรงไหน หากวัดโดยการตรวจเลือดขณะออกกำลังกาย จะพบว่า ค่า Lactate Threshold คือจุดที่มีกรดแลคติกในเลือดสูงกว่า 4 มิลลิโมล/ลิตร (mmol/l) ซึ่งเป็นปริมาณที่ร่างกายไม่สามารถขจัดออกไปได้ทัน คนปกติจะมีปริมาณกรดแลคติกในเลือดขณะพักประมาณ1-2มิลลิโมล/ลิตร (mmol/l) ดังนั้นหากมีระดับกรดแลคติคในเลือดสูงมากกว่าปกติจะทำให้
3.ประโยชน์ของการทราบ Lactate Threshold (LT) คืออะไร
การทราบจุด AT หรือ LT จะช่วยให้นักกีฬารู้ว่าประสิทธิภาพในการออกกำลังแบบแอโรบิกของตัวเอง ข้อมูลเหล่านี้สามารถสร้างแผนการฝึกร่างกายที่เหมาะสมได้
4.อยากอึด/ทนทานขึ้น จะฝึกซ้อมอย่างไร
ง่ายๆคือทำอย่างไรให้ถึงจุด LTหรือเกิดกรดแลคติกในเลือดสูงกว่า 4 มิลลิโมล/ลิตรได้ช้ากว่าเดิม การฝึกนั้นต้องไปเพิ่มความสามารถในการกำจัดแลคติกในกล้ามเนื้อ โดยการฝึกที่เหมาะสมคือแบบ interval training หรือการฝึกหนักสลับเบาให้ชีพจรอยู่ที่ประมาณ 80%ของชีพจรสูงสุดในระยะสั้น ทำซ้ำกันจะสามารถเพิ่มความสามารถได้ดีกว่าฝึกแบบAerobic trainingปกติ สอดคล้องกับแนวคิดของ
1.สนธยา สีละมาด (Srilamart, 2004) ที่ได้เสนอแนวคิดในการฝึกเพื่อพัฒนาจุดเริ่มล้า กล่าวคือ การฝึกซ้อมที่ระดับจุดเริ่มล้าเป็นระดับความหนักที่ เหนื่อยแต่ทนได้มีค่าความหนักของการฝึกซ้อมประมาณ 80-90% ของชีพจรสูงสุด สามารถฝึกซ้อมได้โดยวิธีการฝึกแบบหนักสลับเบา(Interval Training) ซึ่งการฝึกซ้อมที่ถูกต้องจะช่วยขยายระยะเวลาของการก้าวขึ้นสู่ระดับจุดเริ่มล้าโดยการเพิ่มขึ้นของความสามารถในการทำงานภายใต้ความเป็นกรดของร่างกายได้เป็นเวลานาน 
2.และยังสอดคล้องกับจิราดร ถิ่นอ่วน (2555) ที่ได้วิจัยการฝึกแบบแอโรบิกและแอนแอโรบิคที่มีต่อจุดเริ่มล้าในนักกีฬาฟุตบอลพบว่าการฝึกแอนแอโรบิกจะสามารถพัฒนาจุดเริ่มล้าได้สูงขึ้นและยังช่วยในการพัฒนาตัวแปรอัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้า สมรรถภาพในการใช้ออกซิเจนสูงสุด ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมรรถภาพความอดทนของระบบหายใจและไหลเวียนเลือด(Cardiorespiratory system)ของนักกีฬามีการพัฒนาที่ดีขึ้น เนื่องจากร่างกายสามารถนำออกซิเจนเพื่อผลิตพลังงานได้อย่างเพียงพอกับความต้องการใช้ออกซิเจนของร่างกายและเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพและระดับจุดเริ่มล้า(Latate threshold)มีค่าสูงขึ้นก็แสดงให้เห็นว่าร่างกายของนักกีฬามีความสามารถทำให้อัตราการเกิดกรดแลคติกสะสมในกระแสเลือดเกิดขึ้นช้าซึ่งหมายถึงการขยายระยะเวลาในการเกิดจุดเริ่มล้านั่นเอง 
5.ตัวอย่างผลการฝึกซ้อมที่ทำให้ถึงจุด AT หรือ LT ช้าลง
ภาพจาก https://www.rhinofitness.ca/lactatetesting.html
จากภาพเปรียบเทียบระหว่างปริมาณกรดแลคติกกับความหนักของการออกกำลังกาย พบว่าเส้นสีน้ำเงินคือเส้น before training จะพบจุด  AT หรือ LT(กรดแลคติกในเลือดสูงกว่า 4 มิลลิโมล/ลิตร) ที่ระยะเวลา 7 นาที แต่ถ้าได้ทำการฝึกซ้อมสม่ำเสมอเป็นประจำ ร่างกายจะถึงจุดAT หรือ LTช้าลง ตามเส้นสีชมพู after training โดยถึงจุดที่ระยะเวลา 9 นาที
6.การวัด Anaerobic Threshold (AT) หรือ Lactate Threshold (LT)
แบบเที่ยงตรงต้องเข้าห้องLab ทำได้2วิธี
1. เจาะเลือด คือระหว่างวิ่งและเพิ่มความเร็วหรือความชัน เจาะเลือดไปหาปริมาณ กรดLactic (โดยปกติร่างกายคนเรามีLacticในเลือดประมาณ1-2mmol/l อยู่แล้ว และร่างกายมีความสามารถกำจัดLactic ที่สะสมได้ในระดับ4mmol/l จุดที่Lactic เกิน4mmol/l ตรงกับระดับชีพจรเท่าไหร่ ก็ตรงนี้แหละครับคือจุด  AT หรือ LT
2. วัดระดับคาร์บอนไดออกไซค์ในการหายใจ คล้ายๆกันกับการเจาะเลือด แต่จะวัดว่าที่ชีพจรเต้นเท่าไหร่ที่ระดับคาร์บอนไดออกไซค์ใกล้ค่าที่เป็น0 คือจุด AT หรือ LT
แบบประมาณค่า(ทำเองได้) 
มีอุปกรณ์ คือ Treadmill, นาฬิกาจับเวลา,แถบวัดอัตรการเต้นของหัวใจพร้อมเครื่องอ่านค่า(พวกนาฬิกาที่วัดการเต้นหัวใจได้)
วิธีการ
1. Warm up 5-10นาที
2. Set ความเร็วTreadmill ที่ความเร็วที่เราวิ่งแข่ง10กม
3. เริ่มวิ่ง จับเวลาไปเรื่อยๆ จนถึงนาทีที่10 เริ่มจดบันทึกชีพจรจากนาทีที่10ไปจนครบ30นาที จดทุกๆ1นาที
4. นำชีพจร20นาทีสุดท้ายทุกๆนาทีมาหาค่าเฉลี่ย
5.ค่าเฉลี่ยที่ได้คือจุดAT หรือ LTของเรา
แหล่งอ้างอิง
3.Lactate threshold (LT) หรือ Anaerobic threshold คืออะไร: 
5.How To Determine Lactate / Anaerobic Threshold https://www.sport-fitness-advisor.com/anaerobicthreshold.html
7.รู้จัก Lactate Threshold เพื่อใช้ซ้อม. http://mokmunnaiyan.blogspot.com/2016/08/lactate-threshold.html
8.YOUR ENDURANCE THRESHOLDS: ANAEROBIC VS. AEROBIC https://blog.athletigen.com/your-endurance-thresholds-anaerobic-vs-aerobic/
9.จิราดร ถิ่นอ่วน. http://www.spsc.chula.ac.th/backupnew/web_older/main2007/journal/journal/13-1/3.pdf
ผู้เขียน: ศุภนิธิ ขำพรหมราช(อ.ป๊อป) อาจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และผู้ก่อตั้ง POP Fitness Studio



ความคิดเห็น