ระบบโครงร่าง Skeletal system
ระบบโครงร่างหรือโครงกระดูกประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ
ดังนี้
1.กระดูก (Bone) เป็นส่วนที่แข็งที่สุด
โครงกระดูกในผู้ใหญ่ประกอบด้วยกระดูกจำนวน 206 ชิ้น
ส่วนในทารกแรกเกิดจะมีกระดูกถึง 300 ชิ้นเพราะกระดูกอ่อนยังไม่ติดกัน
2.ข้อต่อ (Joints) คือส่วนต่อระหว่างกระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมาต่อกันเพื่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย
3.เอ็น(Tendon) มีทั้งที่เป็นเอ็นกล้ามเนื้อและเอ็นยึดข้อ
(Ligament) เป็นเนื้อเยื่อที่มีความแข็งแรงมาก
มีลักษณะเป็นเส้นใยเหนียว ช่วยยึดกระดูกกับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ไว้ด้วยกัน
4.กระดูกอ่อน (Cartilage) ทำหน้าที่รองรับส่วนที่อ่อนนุ่มของร่างกาย
เพื่อที่จะทำให้การเคลื่อนไหวได้สะดวก ป้องกันการเสียดสี
เนื่องจากผิวของกระดูกอ่อนเรียบ
จึงพบว่ากระดูกอ่อนจะอยู่ที่ปลายหรือหัวกระดูกที่ประกอบเป็นข้อต่อต่าง ๆ
และยังเป็นต้นกำเนิดของกระดูกแข็งทั่วร่างกาย
"โดยบทความนี้จะศึกษาเกี่ยวกับ
หน้าที่ของกระดูกและข้อต่อเป็นหลัก"
หน้าที่ระบบโครงร่าง
-ช่วยพยุงและรับน้ำหนักของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
-ช่วยปกป้องอวัยวะภายในที่สำคัญจากการถูกกระแทก เช่น หัวใจ ปอด สมอง
นอกจากนี้
-กระดูกยังเป็นที่ยึดเกาะของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ
ทำให้มนุษย์สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้
-ภายในโพรงกระดูกยังเป็นที่สำหรับผลิตเม็ดเลือดและเป็นแหล่งสะสมแคลเซียม
เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่หรือมีอายุประมาณ
30
ปี จะมีกระดูกทั้งสิ้น 206 ชิ้น
เนื่องจากรอยต่อของกระดูกบางส่วนจะเชื่อมต่อกันเป็นกระดูกชิ้นใหญ่และแข็งขึ้น
แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
กระดูกยาว (long bone)
กระดูกสั้น (short bone)
กระดูกแบน (flat bone)
กระดูกรูปแปลก (irregular bone)
2.การแบ่งตามตำแหน่งที่พบในร่างกาย
แบ่งออกเป็น
2 กลุ่ม คือ
กระดูกแกน
(axial
skeleton) เช่น กระโหลก กระดูกซี่โครง กะบังลม
กระดูกรยางค์
(appendicular
skeleton) เช่น กระดูกแขน กระดูกขา
3.ประเภทของข้อต่อที่พบในร่างกาย
ข้อต่อ (joint)
หมายถึง จุดหรือบริเวณที่กระดูกตั้งแต่2 หรือมากกว่า2
ชิ้นขึ้นไปมาต่อกัน ซึ่งมีทั้งข้อต่อชนิดที่เคลื่อนไหวไม่ได้(immovable
joint) และข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ (movable joint)
หน้าที่ของข้อต่อ
-กระจายน้ำหนักบนผิวหน้าของข้อต่อ
-ดูดซับแรงกระแทก
-กระชับข้อต่อ
-จำกัดการลื่นไถลของผิวข้อต่อ
-ป้องกันผิวหน้ากระดูกจากการเสียดสีกัน
-เพิ่มความลื่นให้กับข้อต่อ
ประเภทของข้อต่อ
1.ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุด
(synovial
or freely movable joints)
2.ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้เลย
(fibrous
or immovable joints)
3.ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย
(cartilaginous
or slightly movable joints)
1.ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุด (synovial or freely movable joints)
ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุด
(synovial
or freely movable joints) เป็นข้อต่อที่พบได้เกือบทุกจุดในร่างกาย
และเป็นข้อต่อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกายมากที่สุด
ลักษณะข้อต่อชนิดนี้จะมีส่วนปลายของกระดูกเชื่อมติดด้วยเอ็น (hyaline
cartilage) หุ้มอยู่และล้อมรอบด้วยถุงหุ้มข้อต่อ (fibrous
capsule) โดยมีเนื้อเยื่อบางๆ (synovial membrane) ทำหน้าที่ขับน้ำหล่อลื่นให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้สะดวก
ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุด (synovial or freely movable joints) จะแบ่งการเคลื่อนไหวตามแกน X แกนY แกนZ โดย only one axis=การเคลื่อนไหวทิศทางเดียว Two Axes= การเคลื่อนไหวสองทิศทาง All Axes=การเคลื่อนไหวหลายทิศทาง
ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุด (synovial or freely movable joints) มี 6 ประเภท
1.ข้อต่อแบบลูกบอลในเบ้า(ball
and socket joint) มีลักษณะเหมือนลูกบอลอยู่ในเบ้าของกระดูกอีกชิ้น เช่น ข้อต่อระหว่างหัวของกระดูกต้นแขนกับกระดูกสะบัก และระหว่างหัวของกระดูกต้นขากับกระดูกเชิงกราน
ซึ่งเป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวได้หลายทิศทางและเคลื่อนที่ได้มากที่สุด มีการเคลื่อนไหวแบบ flexion, extension, adduction, abduction, rotation, circumduction เพราะหัวของกระดูกต้นแขน
ต้นขามีลักษณะกลมอยู่ภายในแอ่งจึงหมุนได้สะดวก
2.ข้อต่อแบบบานพับ (hinge joint) เคลื่อนไหวได้ในแนวเดียวคล้ายบานพับ มีการเคลื่อนไหวเป็นแบบflexion และ extension ได้แก่ ข้อต่อที่เข่า,ข้อต่อที่ข้อศอกระหว่างปลายกระดูกต้นแขนกับโคนกระดูก ulna
3.ข้อต่อแบบเดือย (pivot joint) ได้แก่
ข้อต่อของ axis และ atlas เป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวทำให้ศีรษะหมุนจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้
(หันซ้ายไปขวา หันขวาไปซ้ายได้) และข้อต่อระหว่างหัวของกระดูก radius กับปลายกระดูกต้นแขน
4.ข้อต่อแบบวงรี (Condylar joint) บางทีเรียกว่า
ellipsoidal joint คล้ายกับข้อต่อในข้อต่อแบบลูกบอลในเบ้าของกระดูกอีกชิ้น (ball and socket joint) แต่มีการเคลื่อนไหวได้น้อยกว่า
(modified
ball and socket) มีการจำกัดการเคลื่อนไหวในด้านใดด้านหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น ข้อต่อของข้อมือ
5.Saddle joint (ข้อต่อแบบอานม้า) เป็นข้อต่อที่ประกอบด้วยผิวหน้าข้อต่อที่เป็นส่วนเว้าของกระดูกชิ้นหนึ่งประกอบกับส่วนนูนของกระดูกอีกชิ้นหนึ่ง การเคลื่อนไหวของข้อต่อชนิดนี้เป็นแบบ abduction และ adduction
6.ข้อต่อแบบสไลด์ (gliding joint) ได้แก่
ข้อต่อของกระดูกข้อมือ ข้อเท้าและกระดูกสันหลังเป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้บ้างแต่ไม่มากนักสไลด์คล้ายกับงูเลื้อย
2.ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้เลย (fibrous or immovable joints)
ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้เลย
(fibrous
or immovable joints) เป็นข้อต่อที่หน้ารอยต่อ
ของกระดูกยึดติดกันด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เป็นพังพืด (fibrous
connective tissue) หรือลักษณะ การเชื่อมต่อของกระดูกที่มีร่องรอยหยักคล้ายฟัน
(suture) ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนบริเวณกะโหลกศีรษะ
เช่น บริเวณรอยต่อระหว่างกระดูกหน้าผากกับกระดูกข้างศีรษะ (coronal suture)
รอยต่อระหว่างกระดูกข้างศีรษะและกระดูกท้ายทอย (suture
lombdoidal)
3.ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย (cartilaginous or slightly movable joints)
ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย (cartilaginous
or slightly movable joints) เป็นข้อต่อที่หน้ารอยต่อของกระดูกยึดติดกันด้วยกระดูกอ่อน
(cartilage)
ตำแหน่งของข้อต่อบริเวณนี้ ได้แก่
ข้อต่อระหว่างชั้นของกระดูกสันหลัง (intervertebral
discs) ข้อต่อระหว่างกระดูกหัวเหน่า (interpubic joint)
แหล่งอ้างอิง
1.ความหมาย ชนิด และการเคลื่อนไหวของข้อต่อhttp://fat.surin.rmuti.ac.th/teacher/songchai/skeleton%20web/joint%20compose.htm
2.ชนิดของข้อต่อกับการเคลื่อนไหว http://www.thaigoodview.com/node/96234?page=0,3
3.การเคลื่อนที่ของมนุษย์ http://www.thaigoodview.com/node/32910
4. Types of joints in the body - Human Anatomy | Kenhub https://www.youtube.com/watch?v=5YYmYx7HZpU
ผู้เขียน: ศุภนิธิ ขำพรหมราช(อ.ป๊อป) อาจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และผู้ก่อตั้ง POP Fitness Studio4. Types of joints in the body - Human Anatomy | Kenhub https://www.youtube.com/watch?v=5YYmYx7HZpU
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น