เส้นใยกล้ามเนื้อ (Muscle Fiber)

ประเภทของเส้นใยกล้ามเนื้อ
เส้นใยกล้ามเนื้อ (Muscle Fiber) สามารถจำแนกชนิดของเส้นใยกล้ามเนื้อลายออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
1. เส้นใยกล้ามเนื้อสีแดง (Type I or Slow Twitch)
เส้นใยกล้ามเนื้อชนิดนี้จะมีสีแดงมากเพราะมีฮีโมโกลบินมาก มีเส้นเลือดฝอย ไมโตคอนเดรีย และแอโรบิคเอนไซม์มาก การหดตัวของกล้ามเนื้อชนิดนี้ จะหดตัวได้ไม่เร็วและไม่รุนแรงเท่าเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาวทั้งนี้เพราะ ลักษณะของเส้นใยมีขนาดเล็กกว่า แต่การหดตัวได้เป็นระยะเวลานานๆ ติดต่อกันดีกว่าเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว ใช้ออกซิเจนช่วยในการหดตัวเหมาะกับกับการฝึกกิจกรรมที่ใช้เวลานานๆ เช่น วิ่งมาราธอน หรือการออกกำลังกายที่ใช้เวลานานๆความหนักต่ำขปานกลาง
2. เส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว (Type II, or Fast Twitch)
เส้นใยกล้ามเนื้อชนิดนี้จะมีขนาดใหญ่ สามารถหดตัวได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง ในระยะเวลาสั้นๆ มีความสามารถในการทำงานที่มีความหนักมากได้ดี แต่เกิดความเมื่อยล้าเร็ว เส้นใยกล้ามเนื้อชนิดนี้ยังแบ่งออกเป็น
2.1 เส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว Type II A (Fast Twitch Oxidative Glycolytic)
เส้นใยกล้ามเนื้อชนิดนี้จะมีลักษณะของการทำงานทั้งแบบแอโรบิค และแอนแอโรบิค สามารถหดตัวได้เร็วและทนความเมื่อยล้าได้ ใช้ออกซิเจนตลอดจนกลูโคสช่วยในการหดตัว
2.2 เส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว Type II B (Fast Twitch Glycolytic)
เส้นใยกล้ามเนื้อชนิดนี้จะมีลักษณะของการทำงานแบบแอนแอโรบิค สามารถหดตัวได้เร็ว เกิดความเมื่อยล้าเร็วไม่ทนทาน ทำงานแบบแอโรบิคได้ไม่ดี ใช้กลูโคสช่วยในการหดตัวเพียงชนิดเดียว
การเปรียบเทียบคุณสมบัติของเส้นใยกล้ามเนื้อ (Muscle Fiber)
1.การหดตัว (Twitch)
จากภาพเส้นใยกล้ามเนื้อสีแดง Slow Twitch Fiber (Type I) จะมีการหดตัวช้าสุด ตามมาด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว Fast Twitch Fiber (Type II A) และเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว (Type II B)จะมีการหดตัวเร็วที่สุด
2.สี (Color)
จากภาพเส้นใยกล้ามเนื้อสีแดง Slow Twitch Fiber (Type I) จะมีขนาดสีแดงเข้มเนื่องจากมีฮีโมโกลบินมาก มีเส้นเลือดฝอย ไมโตคอนเดรีย และแอโรบิคเอนไซม์มาก ตามมาด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว Fast Twitch Fiber (Type II A) จะยังคงมีสีแดงอยู่ และเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว (Type II B)จะมีสีขาวเป้นหลัก
3.ขนาดของเส้นใยกล้ามเนื้อ (Muscle Fiber)
จากภาพเส้นใยกล้ามเนื้อสีแดง Slow Twitch Fiber (Type I) จะมีขนาดเล็กสุด ตามมาด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว Fast Twitch Fiber (Type II A) และเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว (Type II B)จะมีขนาดใหญ่ที่สุด
4.แหล่งการผลิตพลังงาน (Energy production)
จากภาพเส้นใยกล้ามเนื้อสีแดง Slow Twitch Fiber (Type I) จะผลิตพลังงานแบบแอโรบิค(เส้นสีเหลือง) ตามมาด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว Fast Twitch Fiber (Type II A) แหล่งการผลิตพลังงานจากทั้งแบบแอโรบิค และแอนแอโรบิค เรียกว่า Oxidative System หรือ Lactic acid system เนื่องจากการทำกิจกรรมแบบนี้จะผลิตกรดแลคติก (เส้นสีเขียว)และเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว (Type II B)แหล่งการผลิตพลังงานจากระบบATP-CP (เส้นสีน้ำเงิน)
5.อัตราความเมื่อยล้า (Fatigue Rate)
จากภาพเส้นใยกล้ามเนื้อสีแดง Slow Twitch Fiber (Type I) หดตัวช้าจะเกิดความเมื่อยล้าต่ำสุด เนื่องจากมีการใช้พลังงานจากออกซิเจน เส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว Fast Twitch Fiber (Type II A) จะหดตัวเร็วทำให้เกิดกรดแลคติก และเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว (Type II B)จะมีการเกิดความเมื่อยล้าสูงสุดเนื่องจากหดตัวเร็วมากและพลังงานนำกลับมาใช้ไม่ทัน (ผลิต ATP-CPไม่ทัน)
6.กิจกรรมการออกกำลังกายหรือกีฬาที่เหมาะสม (Suited for Exercise/Sports)
จากภาพเส้นใยกล้ามเนื้อสีแดง Slow Twitch Fiber (Type I) เหมาะกับกิจกรรมการออกกำลังกายหรือกีฬาที่เป็นการฝึกความทนทาน (เส้นสีเขียว) เส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว Fast Twitch Fiber (Type II A) เหมาะกับกิจกรรมการออกกำลังกายหรือกีฬาที่เป็นการฝึกแข็งแรง (เส้นสีแดง) และเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว (Type II B)เหมาะกับกิจกรรมการออกกำลังกายหรือกีฬาที่เป็นการฝึกความแข็งแรงสูงสุด (เส้นสีฟ้า)
แหล่งอ้างอิง
2.Jozo Grgic (2016). This is Muscle Fiber Types and Training. https://www.elitefts.com/education/muscle-fiber-types-and-training/
3.Fast vs Slow Twitch Muscle Fibers & High vs Low Rep Training. https://youtu.be/Y6_CQMPsvs4
4.ระบบกล้ามเนื้อกับการออกกำลังกาย. http://www.ipesp.ac.th/learning/Physiology/html/chapter1/Unit1_1_6.html
5.Energy systems used in cycling. http://www.veloharmony.com/energy-systems/



ผู้เขียน: ศุภนิธิ ขำพรหมราช(อ.ป๊อป) อาจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และผู้ก่อตั้ง POP Fitness Studio

ความคิดเห็น