การฝึกแบบ Functional
Training
Functional Training คือการฝึกที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน โดยกรมพลศึกษา (2558) ได้ให้นิยามว่า function
หมายถึง การทำหน้าที่ได้ตามวัตถุประสงค์ ดังนั้น การฝึกแบบ functional
training จึงเป็นการฝึกที่มีการทำงานของกล้ามเนื้อและข้อต่อหลายส่วนร่วมกัน
มีการเคลื่อนไหวหลายทิศทาง
เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ ปัจจุบันเป็นการฝึกที่ได้รับความนิยม
ลักษณะพิเศษของการฝึกร่างกายแบบ Functional Training
1.จะไม่จำกัดอยู่ในทิศทางเดียวเหมือนการใช้เครื่อง แต่สามารถฝึกในทิศทางที่เราต้องการ
2.ใช้กล้ามเนื้อหลายๆมัดในท่าเดียว (เหมาะกับสังคมสมัยใหม่มาก)
3.สามารถฝึกโดยเลียนแบบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การยกของ การผลัก การดัน การหมุนตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแข็งแรงขึ้นได้
4.ส่วนมากท่าฝึกจะเน้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางหรือช่วงลำตัว (core muscles) เป็นหลัก ได้แก่ กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อด้านข้างลำตัว และกล้ามเนื้อหลังเป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ รวมถึงการเล่นกีฬาด้วย
5.และเนื่องจากทุกท่าเน้นกล้ามเนื้อแกนกลาง หรือช่วงลำตัว (core muscles) เป็นหลัก จึงสามารถปรับปรุงการทรงตัว ความสมดุลในร่างกายได้
สรุปการฝึกแบบ Functional Training 1.จะไม่จำกัดอยู่ในทิศทางเดียวเหมือนการใช้เครื่อง แต่สามารถฝึกในทิศทางที่เราต้องการ
2.ใช้กล้ามเนื้อหลายๆมัดในท่าเดียว (เหมาะกับสังคมสมัยใหม่มาก)
3.สามารถฝึกโดยเลียนแบบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การยกของ การผลัก การดัน การหมุนตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแข็งแรงขึ้นได้
4.ส่วนมากท่าฝึกจะเน้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางหรือช่วงลำตัว (core muscles) เป็นหลัก ได้แก่ กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อด้านข้างลำตัว และกล้ามเนื้อหลังเป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ รวมถึงการเล่นกีฬาด้วย
5.และเนื่องจากทุกท่าเน้นกล้ามเนื้อแกนกลาง
คือการออกกำลังกายที่สามารถช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกายในชีวิตประจำวัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ การฝึกมีทิศทางการเคลื่อนไหวอิสระหลากหลาย นอกจากนี้ยังพัฒนาทั้งระบบประสาทกล้ามเนื้อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรูปแบบการออกกำลังกายเช่นนี้ได้มีการปรับใช้ให้สอดคล้องกับรูปร่างและสรีระของผู้ที่ต้องการออกกำลังกายซึ่งออกแบบมาให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล
แหล่งอ้างอิง
1.กรมพลศึกษา (2558). การฝึกความแข็งแรงรูปแบบ Functional Training สำหรับนักกีฬา
2.สมพัฒน์ จำรัสโรมรัน (2551). Functional Training การออกกำลังกายเพื่อชีวิตประจำวัน. นิตยสาร Health today
3.ศุภนิธิ ขำพรหมราช (2554). หญิงวัยทำงานกับการออกกำลังกายแบบ Functional Training. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีที่8 ฉบับที่2
ผู้เขียน: ศุภนิธิ ขำพรหมราช(อ.ป๊อป) อาจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และผู้ก่อตั้ง POP Fitness Studio
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น