สถานที่ออกกําลังกายในประเทศไทย ตามลักษณะการให้บริการ Fitness Center Management (1/3)

                   การจัดการศูนย์ฟิตเนส (Fitness Center Management)
หลักการจัดการศูนย์ฟิตเนส 
ตอนที่2 สถานออกกําลังกายในประเทศ
เฉลิมพล จินดาเรือง (2555) ได้กล่าวว่าสถานออกกําลังกายในประเทศสามารถจําแนกออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะการให้บริการ คือ
1. สโมสร (Mega club) เช่น ราชกรีฑาสโมสร สปอร์ต คลับ (Royal Bangkok sports club)
2. ศูนย์กีฬา (Multi-sports center) เช่น สปอร์ต ซิตี้ (Sports city)
3. ฟิตเนสเซ็นเตอร์ (Fitness center) เช่น ฟิตเนส เฟิรส์ท (Fitness first), เวอร์จิ้น แอคทีฟ ฟิตเนส (Virgin active fitness)
4. ศูนย์บริการเฉพาะ (Niche club) เช่น บอดี้ เชป (Body Shape), ฟิลลิป เวน (Philip Wein)

แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันมีสถานออกกําลังกายเกิดขึ้นมากมาย แต่ละแห่งมีมาตรฐาน และการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ศุภนิธิ ขำพรหมราช จึงได้เพิ่มเติมและสรุปตามลักษณะการให้บริการ ดังนี้ 
1. ศูนย์กีฬา (Multi-sports center) 
เป็นสถานที่ออกกำลังกายขนาดใหญ่ มีกิจกรรมทั้งในร่มและภาคสนาม มีกีฬาและการออกกำลังกายหลากหลาย ภายในศูนย์อาจมีห้องอาหารและสปาไว้บริการ เช่น ราชกรีฑาสโมสร สปอร์ต คลับ (Royal Bangkok sports club), สปอร์ต ซิตี้ (Sports city) หรือศูนย์ออกกำลังกายของหน่วยงานภาครัฐ เช่น ศูนย์กีฬาในมหาวิทยาลัย, สโมสรกองทัพบก
2. ศูนย์หรือสนามกีฬาเฉพาะทาง (sports center) 
เป็นสถานที่ออกกำลังกายเฉพาะทาง  มีกิจกรรมทั้งในร่มและภาคสนาม มีกีฬาและการออกกำลังกายหลัก และมีกิจกรรมอื่นๆเสริมบ้าง เช่น สนามฟุตบอลหญ้าเทียม, สนามแบดมินตั้น, สระว่ายน้ำ, สนามเทนนิส
3. ฟิตเนสเซ็นเตอร์ (Fitness center) 
Fitness First
Virgin Active Thailand
เป็นสถานออกกําลังกายที่มีขนาดเล็ก-กลาง ให้ความสําคัญกับความสะดวกสบายของผู้มาใช้บริการ มีที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนต่างๆ หรือสำนักงาน หรือห้างสรรพสินค้า ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น ฟิตเนส เฟิรส์ท (Fitness first), เวอร์จิ้น แอคทีฟ ฟิตเนส (Virgin active fitness)
4. สถานที่ออกำลังกายทางเลือกใหม่  
SKI 365
S'wet Society
Bounce Thailand
Climb Central BKK
Surf Set
Training ground
Tribe BKK 
โรงเรียนสอนมวยไทยครูดาม
เป็นสถานออกกําลังกายที่ส่วนใหญ่ขนาดเล็ก-กลาง เป็นการออกกำลังกายเฉพาะทางตามผู้สนใจ มีที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนต่างๆ หรือสำนักงาน หรือห้างสรรพสินค้า ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น การออกกำลังกายแบบมวยไทยสตูดิโอโยคะ/พิลาทีสต์, Functional Training Gym, CrossFit Gym เป็นต้น
5. สถานที่ออกำลังกายสาธารณะ
เป็นสถานออกกําลังกายที่ไม่คิดค่าบริการ เปิดบริการให้ประชาชนใช้ฟรี หรือบางกิจกรรมอาจมีค่าบริการแต่เป็นค่าบริการราคาถูก เช่น กิจกรรมไทเก๊ก โยคะ เป็นต้น โดยภายในอาจมีกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐในการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย เช่น ลานแอโรบิค รวมถึงอาจมีการบริการของชมรมต่างๆภายในสวนสาธารณะ 

แหล่งอ้างอิง
1.รวม 21 ฟิตเนสและที่ออกกำลังกายทางเลือกใหม่ http://soimilk.com/health/news/new-alternative-workout-studios-bangkok
2. ฉลิมพล จินดาเรือง (2555). ต้นแบบการจัดการคุณภาพศูนย์ฟิตเนสของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการกีฬาและการบันเทิง วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม




ผู้เขียน: ศุภนิธิ ขำพรหมราช(อ.ป๊อป) อาจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และผู้ก่อตั้ง POP Fitness Studio

ความคิดเห็น