การท่องเที่ยวทางกีฬา
*บทความใช้สำหรับการสอนไม่ได้มีวัตถุประสงค์เชิงพานิชย์
สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(2553)
ได้ให้ความหมายการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism)
สามารถแบ่งออกเป็น 2
ลักษณะตามวัตถุประสงค์ในการเล่นกีฬา คือ
1) การเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ คือ
นักท่องเที่ยวที่ไปท่องเที่ยวพร้อมกับวัตถุประสงค์ที่จะไปออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬา
เช่น เล่นกอล์ฟ ดำน้ำ พายเรือ
2) การเล่นกีฬาเพื่อการแข่งขัน คือ
นักกีฬาไปแข่งขันกีฬาระหว่างจังหวัดหรือระหว่างประเทศ หรือระดับโลก โดยจะมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการแข่งขัน
แต่นักท่องเที่ยวก็จะได้รับสุขภาพที่แข็งแรงในทางอ้อม
และยังได้ท่องเที่ยวซึ่งส่งผลทำให้สุขภาพจิตดีด้วย
และมีอีกหนึ่งวัตถุประสงค์คือการไม่ได้ไปเล่นกีฬาแต่ไปรับชม
เชียร์ คือ
3) การท่องเที่ยวเพื่อไปดูการแข่งขันกีฬา คือ จัดรายการทัวร์เพื่อไปชมเชียร์การแข่งขั้นกีฬาที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่างๆ
1.ฟุตบอล
ฟุตบอลหรือชอคเกอร์เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของโลก
ซึ่งมีผู้ชมหรือผู้เล่นในแต่ละปีเกินกว่า 3,500 ล้านคน
มีการแข่งขันฟุตบอลโลก FIFA World Cup ทุก 4 ปี โดยครั้งล่าสุดจัดขึ้นที่ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้เมื่อปี 2010 มีผู้เข้าชมรวม 3.18 ล้านคน
และในแต่ละปีมีการแข่งขันชิงแชมป์ของทวีปเช่น UEFA Cup ในยุโรปและ
Copa Libertadores de America ในทวีปอเมริกาใต้
2.คริกเก็ต
คริกเก็ตเป็นกีฬาที่ยังได้รับความนิยมในกลุ่มประเทศเครือจักรภพอังกฤษมีผู้
เล่นและผู้ชมประมาณ 3,000 ล้านคน
ในแต่ละปีในเอเชียใต้ ออสเตรเลีย และอังกฤษ โดยมีรูปแบบการเล่นที่แตกต่างกันไป
3.รักบี้
การแข่งขัน
Rugby
World Cup เมื่อปี2007สามารถดึงดูดผู้ชมทั่วโลกได้มากเป็นอับดับสาม
กีฬาประเภทนี้เติบโตขึ้นทั่วโลก แต่ที่นิยมเล่นกันมากคือในยุโรป, แอฟริกาใต้ และ ออสตราเลเซีย
4.เทนนิส
เทนนิสเป็นกีฬาประเภทบุคคลที่เป็นที่นิยมมากที่สุดของโลกโดยมีผู้เล่นที่มี
การขึ้นทะเบียนแล้วกว่า 75 ล้านคนทั่วโลก
และที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีกเป็นจำนวนมาก การแข่งขัน Wimbledon
Championships ในแต่ละปีดึงดูดผู้ชมประมาณ 500,000 คนในช่วง 2 สัปดาห์ ขณะที่ US Open มีผู้เข้าชมกว่า 720,000 คนเมื่อปี 2010
5.American
Individuality
กีฬาบางประเภทได้รับความนิยมมากในสหรัฐอเมริกาแต่ไม่เป็นที่นิยมในระดับโลก
เช่น เบสบอล และ อเมริกันฟุตบอล
แต่กีฬาเหล่านี้ก็มีจำนวนผู้เข้าชมมากที่สุดติดอันดับโลกในการแข่งขันชิง
แชมป์ประจำปี เนื่องจากมีผู้สนับสนุนภายในประเทศเป็นจำนวนมาก
เบสบอลยังได้รับความนิยมในญี่ปุ่นและแคนาดา อีกด้วย
ประเภทของผู้เดินทางเพื่อกีฬา
1.Single
and groups : คนส่วนใหญ่ที่เดินทางเพื่อไปชมมหกรรมกีฬาที่เป็น mega
event จะเดินทางเป็นกลุ่มโดยมากเป็นส่วนหนึ่งของแพ็คเกจที่จัดโดยสมาคม
หรือชมรมกีฬา คนที่เดินทางโดยลำพังก็มีเป็นจำนวนมาก ลักษณะของแพ็คเกจจะขึ้นอยู่กับจุดหมายปลายทางเป็นหลัก
ในกีฬาโอลิมปิก 2008
ที่กรุงปักกิ่งมีผู้ร่วมงานที่เดินทางเองน้อยแต่ในโอลิมปิก 2012 ที่กรุงลอนดอน
ปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานที่จัดการเดินทางเองเพิ่มขึ้นมากเพราะตลาดการ
ท่องเที่ยวของสหราชอาณาจักรเติบโตเต็มที่แล้ว และมีการเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้อย่างกว้างขวางซึ่งเอื้อต่อการเดินทางเอง
2.Families
: กลุ่มครอบครัวที่เดินทางเพื่อร่วมมหกรรมกีฬามีจำนวนเพิ่มขึ้นเนื่องจาก
ปัจจุบันสนามแข่งขันยอมให้เด็กเข้าชมได้
บางครอบครัวก็เดินทางไปเชียร์สมาชิกในครอบครัวที่เข้าแข่งขัน
3.ผู้สูงอายุ : มีผู้สูงอายุที่มีเงินและเวลาที่จะเดินทางไปทั่วโลกเพื่อติดตามทีมที่ชื่น
ชอบ และบางคนก็ยังร่วมในการแข่งขัน เช่นในการแข่งขัน Grand Masters Hockey World Cup ที่จัดขึ้นที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้เมื่อปี 2010 มีผู้เล่นที่อายุเกิน 60
ปี จาก 9 ประเทศ เข้าร่วมแข่งขัน
4.ผู้เข้าร่วมทั้งชายและหญิง :
ตามปกติจะมีผู้เข้าร่วมชมมหกรรมกีฬาที่เป็นเพศหญิงน้อยกว่าเพศชาย
แต่ขณะนี้เริ่มเปลี่ยนไปโดยมีผู้หญิงร่วมกิจกรรมกีฬามากขึ้น
อย่างไรก็ดีจากการศึกษาของรัฐบาลออสเตรเลียเมื่อปี 2010
พบว่ามีผู้เข้าชมมหกรรมกีฬาในฤดูกาลแข่งขันปี 2009/2010 เป็นเพศชายร้อยละ
57 ขณะที่เป็นเพศหญิงร้อนละ 41
ซึ่งอัตราส่วนนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามชนิดกีฬา
โดยกีฬาที่มักจะมีผู้ชมทั้งชายและหญิงจำนวนใกล้เคียงกันคือการแข่งม้าและ รักบี้
5.แฟนกีฬากลุ่มใหม่ :
ประเทศเศรษฐกิจใหม่หลายประเทศได้รับโอกาสเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาระดับโลก
เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเงิน
รวมทั้งทัศนคติที่เปลี่ยนไปในหมู่องค์กรกีฬาระดับโลกก็มีส่วนช่วยสนับสนุน
ทั้งนี้การเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬารายการใหญ่ๆ
ถือเป็นก้าวแรกในการปรับปรุงภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาของนักท่องเที่ยวนานา ชาติ
และกระตุ้นให้เกิดแฟนกีฬาหน้าใหม่ทั่วโลก เช่นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
ซึ่งเป็นการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นครั้งแรกในประเทศนี้
และรัฐบาลจีนมองเห็นโอกาสที่จะแสดงศักยภาพของประเทศสู่สายตาชาวโลก
รายการครอบครัวข่าว
ช่อง3
(2559) ได้พูดถึงการท่องเที่ยวเชิงกีฬาว่า
กีฬานานาชาติหลายรายการที่ไทยจัดต่อเนื่อง
อย่างการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2016
ที่จะเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคมนี้ หรือจะเป็นการแข่งขันกอล์ฟ คิงส์ คัพ เอเชียนทัวร์,
เจ็ตสกี เวิลด์คัพ, จักรยานยนต์ โมโตครอส
เวิลด์ แชมเปี้ยนชิพ กรังด์ปรีซ์ ไทยแลนด์ และมวยไทย วัน เฟสติวัล รวมถึงกีฬามหาชน
ที่อยู่ในกระแสคนรักสุขภาพทั่วโลกอย่างการวิ่งมาราธอน ปั่นจักรยาน และไตรกีฬา
ล้วนดึงดูดให้มีผู้มาเยือนประเทศไทยมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยวในบ้านเรา
ที่สำคัญคือเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้ข้อมูลว่า
มีการใช้จ่ายสูงกว่าการท่องเที่ยวปกติถึง 7 เท่าตัว
และพำนักในประเทศไทยมากขึ้น จากสถิติปีที่แล้ว นักท่องเที่ยวปกติ พักเฉลี่ยคนละ 9.5 วัน ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 5,072 บาทต่อคนต่อวัน
และปีนี้คาดการณ์เพิ่มขึ้นเป็น 5,100 บาทต่อคนต่อวัน
ซึ่งนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา 3 อันดับแรก คือ จีน ญี่ปุ่น
เกาหลี
เอเจนซีต่างชาติบอกว่า
ที่ผ่านมาพยายามนำเสนอการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเริ่มจากลุ่มขนาดกลาง
แต่หลายครั้งขาดการให้ข้อมูลที่ชัดเจนจากองค์กรด้านการท่องเที่ยวของไทยในต่างประเทศ
และขาดแรงจูงใจในการผลักดัน ขณะที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวของไทย
อยากเห็นแผนการทำงานที่มีการประสานชัดเจนของแต่ละหน่วยงานระหว่างการท่องเที่ยวและการกีฬา
ซึ่งในช่วงแรกรัฐต้องลงทุนสร้างแรงจูงใจให้เอกชนเข้ามาทำตลาด เช่น
การให้การสนับสนุนยานพาหนะ และการประชาสัมพันธ์ ซึ่งการผลักดันไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของภูมิภาค
ต้องมีมาสเตอร์แพลนและไม่ลืมเป้าหมายการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น
เพื่อความยั่งยืนของการท่องเที่ยวไทย
แหล่งอ้างอิง
1.แหล่งท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวตลาดใหม่1 กรวรรณ
สังขกร สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม http://www.sri.cmu.ac.th
2.โศรยา หอมชื่น ฐานิช ลิ้มตระกูล*
การท่องเที่ยวทางกีฬา file:///C:/Users/Administrator/Downloads/etat22555.pdf
3. รายการครอบครัวข่าว ช่อง3 (2559)
http://www.krobkruakao.com
4.กรรณิกา วรพันธุ์, จินณพัษ ปทุมพร.
การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่นการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ
“สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน”
ครั้งที่ 2 18-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง
จังหวัดนครราชสีมา
ผู้เขียน: ศุภนิธิ ขำพรหมราช(อ.ป๊อป) อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และผู้ก่อตั้ง POP Fitness Studio
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น