นักฟุตบอลอาชีพจะเตรียมตัวสำหรับแข่งขันในลีคอย่างไร
ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงของสมรรถภาพทางกายพร้อมที่สุด?
ผู้ฝึกสอนด้านสมรรถภาพทางกาย
จะต้องการวางแผนการฝึกอย่างไรที่จะดึงความสามารถของนักกีฬาให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด?
นี้คือสองคำถามหลักๆของผู้ที่จะทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนสมรรถภาพทางกายทีมกีฬาStrength
and conditioning coach หรือ Fitness Coach
Periodization หรือการวางแผนการฝึกซ้อมเป็นสิ่งที่สโมสรฟุตบอลต่างๆ
ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมสมรรถภาพทางกายของนักฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งนอกเหนือจะทำให้ทีมมีชัยต่อคู่ต่อสู้แล้ว
ยังถือเป็นการป้องกันการบาดเจ็บด้วยหากนักฟุตบอลมีความแข็งแกร่งของร่างกายอย่างดี(ไพศาล จันทรพิทักษ์, 2557) เพราะกีฬาฟุตบอลเป็นการเล่นที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย
การขึ้นลงสนามรวดเร็ว นักกีฬาจึงมีความจำเป็นต้องมีสมรรถภาพทางกายที่แข็งแกร่งไม่แพ้กีฬาชนิดอื่น แนวทางการเล่นที่ต้องมีการเลี้ยงลูก
ส่งลูกและการกระโดดขึ้นลงที่ต้องใช้ความแข็งแรง ความอดทนของร่างกาย
ความเร็วและพลังของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง ยิ่งมีความพร้อมทางร่างกายมากเท่าไรการเล่นฟุตบอลก็ยิ่งมีประสิทธิภาพที่นำไปสู่ผลการแข่งขันที่ดีเสมอ
องค์ประกอบของการมีสมรรถภาพทางกายที่กล่าวมา สำหรับนักกีฬาฟุตบอลเกิดจากการเตรียมความพร้อมอย่างเป็นระบบแนวทางในการเตรียมความพร้อมทางร่างกายของนักกีฬาฟุตบอล(กรมพลศึกษา, 2554)
หลักการ เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบว่าจะประเมินผลความสามารถของนักฟุตบอลอย่างไรนั้น จะต้องเข้าใจธรรมชาติการใช้สรรถภาพทางกายของนักฟุตบอลก่อน
หลักการ เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบว่าจะประเมินผลความสามารถของนักฟุตบอลอย่างไรนั้น จะต้องเข้าใจธรรมชาติการใช้สรรถภาพทางกายของนักฟุตบอลก่อน
1. ในหนึ่งนัดนักฟุตบอลจะวิ่งเป็นระยะทางเฉลี่ย 10-13 กิโลเมตร โดยนักฟุตบอลที่เล่นกองกลางจะวิ่งระยะทางเฉลี่ยมากกว่าตำแหน่งอื่น และระยะทางส่วนใหญ่ของนักฟุตบอลนั้นจะเป็นการเดินและการวิ่งชนิดไม่รวดเร็ว
ส่วนการวิ่งที่รวดเร็วและการใช้กำลังมากๆนั้น
เราจะเห็นได้บ่อยๆในกลุ่มนักฟุตบอลชั้นนำระดับโลกหรือในลีกต่างประเทศที่นักฟุตบอลมีค่าตัวสูงๆ
2. จากการศึกษาพบว่านักฟุตบอลระดับยอดเยี่ยมเหล่านี้จะมีการวิ่งที่ใช้พละกำลังสูงๆ
มากกว่านักฟุตบอลทั่วๆไปถึง 28% และมีการวิ่งเร็วๆ
มากกว่าถึง 58%
3. กีฬาฟุตบอลเป็นกีฬาที่ใช้พลังงานทั้งสองแบบ คือ
-ระบบหัวใจและไหลเวียนของโลหิตหรือที่เป็นแบบแอโรบิค (Aerobic Endurance) โดยมีการวัดอัตราการเต้นของหัวใจนักฟุตบอลชั้นนำเหล่านี้แล้วพบว่า
มีอัตราอยู่ที่ 85% - 98% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด
(Maximal Heart Rate: MHR)
-แบบแอนแอโรบิค (Anaerobic
Endurance) ที่ร่างกายต้องใช้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องเป็นระยะสั้นๆ
ไม่ต่อเนื่องกัน เช่น การวิ่งเร็วช่วงสั้นๆ การกระโดด ซึ่งใช้สมรรถภาพทางกายของกล้ามเนื้อ (Muscular Fitness) เป็นหลัก
องค์ประกอบของการมีสมรรถภาพทางกายที่กล่าวมา มีผลต่อการเพิ่มความสามารถในการเล่นกีฬาและการป้องกันการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมหรือแข่งกีฬา
สำหรับกีฬาฟุตบอลการเตรียมความพร้อมสมรรถภาพดังกล่าวอย่างเป็นระบบจะทำให้ผู้ฝึกสอน
ได้ทราบระดับสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาฟุตบอลเพื่อวางแผนในการฝึกซ้อม และคัดเลือกผู้เล่นลงทำการแข่งขัน
และตัวนักกีฬาเองก็จะได้ทราบระดับสมรรถภาพทางกายของตนเองเพื่อพัฒนาให้พร้อมสำหรับการแข่งขันต่อไป
ผู้เขียน: ศุภนิธิ ขำพรหมราช(อ.ป๊อป) อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และผู้ก่อตั้ง POP Fitness Studio

ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น