การประยุกต์การทดสอบ FMS (Functional Movement Screen Test) ไปใช้กับการบริการวิชาการ

การประยุกต์การทดสอบ FMS (Functional Movement Screen Test) ไปใช้กับการบริการวิชาการ
วันที่ 11 พฤษภาคม 2560 สาขาวิชาการจัดการการกีฬา(อ.วีระยุทธ กองวงษา) สาขาวิชาพลศึกษา(อ.ดร.จรูญศักดิ์ เบญมาตร์) และสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา(อ.ศุภนิธิ ขำพรหมราช) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พร้อมกับ Mr.conte อาจารย์พิเศษจาก สพล.มหาสารคาม ได้ไปบริการวิชาการ โดยการเปิด"Sports Clinic"ที่ อบต.โคกสะอาด อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์
ซึ่งในส่วนของกีฬาฟุตบอลนั้นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาได้รับโจทย์จากอาจารย์วีระยุทธว่า ให้เน้นการฝึก Basic Movement แก่เยาวชน ดังนั้นจึงได้วางแผนกับทีมงานว่าจะทำ FMS หรือ Functional Movement Screen Test แก่เยาวชน โดยFMS ก็คือการประเมินรูปแบบการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวันว่าร่างกายมีความสามารถในระดับใด หากนักกีฬาอยู่ในระดับดีก็จะส่งผลต่อการเล่นกีฬาได้ดีขึ้นด้วย แต่อุปสรรคปัญหาในการทดสอบก็มี คือความพร้อมของอุปกรณ์ที่เราไม่มีเหมือนตามเกณฑ์ทดสอบ รวมถึงสภาพความพร้อมของสถานที่ไปบริการวิชาการด้วย ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นจึงได้ประยุกต์การทดสอบ FMS กับเด็กๆที่เข้าร่วม เป้าหมายคือเพื่อให้ทุกคนทราบและเห็นถึงความสำคัญกับBasic Movementของกีฬาฟุตบอลมากขึ้น และสามารถไปปรับใช้ในการฝึกซ้อมได้ในอนาคต
FMS (Functional Movement Screen Test) คืออะไร
เป็นการทดสอบที่ออกแบบโดย Gray Crook และ Lee Burton (2014) เพื่อประเมินรูปแบบการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 
FMSประกอบไปด้วยแบบทดสอบ 7 แบบ เป็นการทดสอบทั้งข้างซ้ายและข้างขวา การให้คะแนนมี 4 ระดับ คือ 0 ถึง 3 ในการทดสอบแต่ละครั้งให้ผู้รับการทดสอบทำการทดสอบได้ 3 ครั้ง หากเป็นการทดสอบข้างซ้ายและข้างขวา ให้บันทึกคะแนนของแต่ละข้างในการคิดคะแนนรวมให้เลือกค่าคะแนนของข้างที่ได้คะแนนต่ำกว่าเป็นค่าของการทดสอบนั้น
ทั้งนี้ผู้ทำการทดสอบต้องบันทึกลักษณะการเคลื่อนไหวขณะทำการทดสอบ รวมถึงระดับความสามารถใน
การทรงตัว ความสมดุลของการเคลื่อนไหวของข้างซ้ายและขางขวา (Hoogenboom, Voight et al. 2012) ในการแปลผลผู้ที่ได้คะแนนต่ำกว่า 14 คะแนน ถือว่าได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และมีความเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้คะแนนสูงกว่า 14 ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ(Cook, Burton et al. 2014) จึงควรมีการประเมินร่วมด้วยว่าท่าทางการเล่นกีฬาของนักกีฬาประเภทใด ควรใช้การทดสอบท่าใดที่จำเพาะเจาะจงเพิ่มขึ้นหรือไม่
ท่าที่นำมาประยุกต์ใช้ในการบริการวิชาการ
1. Deep Squat
ประยุกต์มาจากท่า Deep Squat
ความแตกต่างจากGray Crook และ Lee Burton: ไม่มีไม้และไม่ได้ยกแขนขึ้นเหนือศรีษะ
2. Inline Lunge+Shoulder Mobility
ประยุกต์มาจากท่า Inline Lunge+Shoulder Mobility
ความแตกต่างจากGray Crook และ Lee Burton: ไม่มีไม้และนำ2ท่ามารวมกัน
3. Rotary Stability
ประยุกต์มาจากท่า Rotary Stability
4. Active Straight-leg raise
ประยุกต์มาจาก Active Straight-leg raise
ความแตกต่างจากGray Crook และ Lee Burton: ไม่มีไม้
และผลจากการทำ FMS แม้จะไม่ได้วัดเป็นคะแนนตามเกณฑ์ ก็พบว่าเด็กที่เข้าร่วมโครงการมีปัญหา Basic Movement อยู่บ้าง แต่สามารถแก้ไขได้ในอนาคตหากมีการวางแผนการฝึกซ้อมที่ดี


ผู้เขียน: ศุภนิธิ ขำพรหมราช(อ.ป๊อป) อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และผู้ก่อตั้ง POP Fitness Studio

ความคิดเห็น