สมรรถภาพทางกายและการแนะนำออกกำลังกายแก่บุคลากรโรงพยาบาลวาปีปทุม (วิทย์กีฬาบริการวิชาการ)


สมรรถภาพทางกายและการแนะนำการออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน/โรคอ้วนแก่บุคลากรโรงพยาบาลวาปีปทุม
ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน พ.ศ 2553-2562 ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (2560) มีกรอบแนวคิดว่าการจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ต้องประกอบไปด้วยมาตรการในการป้องกันควบคุม คัดกรองและบำบัดรักษา และต้องครอบคลุมกลุ่มปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ซึ่งประกอบไปด้วยสามกลุ่มปัจจัยหลักที่ควบคุมได้ ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภค การมีกิจกรรมทางกาย และปัจจัยแวดล้อมที่มีต่อการบริโภคและการทำกิจกรรมทางกายของบุคคลที่จะนำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาการบริโภคที่ไม่เหมาะสมและนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยบรรจุเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพของคนว่า “ ลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วย ด้วยโรคป้องกันได้ใน อันดับแรก คือ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง และหลอดเลือดสมองเพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงานและลดรายจ่ายด้านสุขภาพ และผู้จัดทำโครงการก็ได้นำมาพัฒนาปรับปรุงทดลองเป็นโครงการส่งเสริมสุขภาพให้แก่บุคลากรโรงพยาบาลวาปีปทุมโดยมีอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นผู้ให้คำแนะนำ แบ่งการศึกษาเป็น กิจกรรมได้แก่
กิจกรรมที่ 1 การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
กิจกรรมที่ 2 การแนะนำการออกกำลังกาย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
                1. เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง
                2. สายวัด
                3. เครื่องวัดไขมันใต้ผิวหนังแบบหนีบ (Skinfold Caliper)
                4. เทปกาว
                5. เบาะ
                6. สเต็ป (Step)
ผลสมรรถภาพทางกายเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน
ตารางที่1 ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายบุคลากรโรงพยาบาลวาปีปทุม (เพศหญิง)
ข้อมูล
จำนวน(คน)
ค่าเฉลี่ย
เกณฑ์ที่ได้
แหล่งอ้างอิง
อายุ(ปี)
131
40.89
-
-
ส่วนสูง(เซนติเมตร)
131
158.40
-
-
น้าหนัก(กิโลกรัม)
131
56.39
-
-
ดัชนีมวยกาย (กก/เมตร²)
131
21.51
ปกติ
องค์การอนามัยโลก
สัดส่วนเอวต่อสะโพก
131
0.84
เสี่ยงปานกลาง
ACE 2010
%ไขมันในร่างกาย
130
34.20
เกินมาตรฐาน
สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาแห่งอเมริกา (ACSM 2008)
นั่งงอตัว
132
5.38
ต่ำ
กรมพลศึกษา 2556
ยืนลุกนั่ง
130
50.55
ดีมาก
กรมพลศึกษา 2556
ดันพื้น
128
30.50
ดี
กกท. 2543
ก้าวขึ้นกล่อง 3 นาที
104
131.05
ต่ำ
กรมพลศึกษา 2556

ตารางที่ 2 ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายบุคลากรโรงพยาบาลวาปีปทุม (เพศชาย)
ข้อมูล
จำนวน(คน)
ค่าเฉลี่ย
เกณฑ์ที่ได้
แหล่งอ้างอิง
อายุ(ปี)
26
34.76
-
-
ส่วนสูง(เซนติเมตร)
26
170.81
-
-
น้าหนัก(กิโลกรัม)
26
65.73
-
-
ดัชนีมวยกาย (กก/เมตร²)
26
22.53
ปกติ
องค์การอนามัยโลก
สัดส่วนเอวต่อสะโพก
26
0.88
เสี่ยงปานกลาง
ACE 2010
%ไขมันในร่างกาย
26
23.35
อยู่ในเกณฑ์
สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาแห่งอเมริกา (ACSM 2008)
นั่งงอตัว
26
6.81
ต่ำ
กรมพลศึกษา 2556
ยืนลุกนั่ง
26
54.38
ดีมาก
กรมพลศึกษา 2556
ดันพื้น
26
27.46
ดี
กกท. 2543
ก้าวขึ้นกล่อง 3 นาที
24
139.80
ต่ำ
กรมพลศึกษา 2556

สรุปและอภิปรายผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายและการแนะนำการออกกำลังกาย
แผนภูมิที่ 1 จำนวนผู้เข้าทดสอบสมรรถภาพทางกาย
จากแผนภูมิที่ 1 จำนวนผู้เข้าทดสอบสมรรถภาพทางกายมี 158 คน เป็นผู้หญิง 132 คน และผู้ชาย 26 คน
แผนภูมิที่ 2 ข้อมูลพื้นฐาน ค่าเฉลี่ยของส่วนสูง น้ำหนักตัว และอยุ
จากแผนภูมิที่ 2 ข้อมูลพื้นฐาน แสดงค่าเฉลี่ยของส่วนสูง น้ำหนักตัว และอายุ
ส่วนสูง (เซนติเมตร) ของเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 158.40 เซนติเมตร เพศชายมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 170.81 เซนติเมตร น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ของเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 56.39 กิโลกรัม เพศชายมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 65.73 กิโลกรัม อายุ (ปี) ของเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 40.89 ปี เพศชายมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 34.76 ปี
แผนภูมิที่ 3 การทดสอบองค์ประกอบทางกาย ค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกาย(BMI) สัดส่วนเอวต่อสะโพก(WHR) และเปอร์เซ็นต์ไขมัน(%fat)
จากแผนภูมิที่ 3 การทดสอบองค์ประกอบทางกาย แสดงค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกาย(BMI) สัดส่วนเอวต่อสะโพก(WHR) และเปอร์เซ็นต์ไขมัน(%fat)
ดัชนีมวลกาย (BMI) ของเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 21.51 กก/เมตร² เพศชายมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 22.53 กก/เมตร² เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ดัชนีมวลกายขององค์กรอนามัยโลกในเกณฑ์คนเอเชียพบว่าค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายของผู้เข้าร่วมการทดสอบทั้งหญิงและชายอยู่ในเกณฑ์ปกติ
สัดส่วนเอวต่อสะโพก (WHR) ของเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.84 เพศชายมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.88 เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์สัดส่วนเอวต่อสะโพกของสถาบันเวชศาสตร์การกีฬาแห่งอเมริกัน(2008)พบว่าค่าเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมการทดสอบทั้งหญิงและชายอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงปานกลาง
เปอร์เซ็นต์ไขมัน (%fat) ของเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 34.20 เพศชายมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 23.35 เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์เปอร์เซ็นต์ไขมันของสถาบันเวชศาสตร์การกีฬาแห่งอเมริกัน(2008)พบว่าค่าเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมการทดสอบเพศหญิงอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงสูงเพศชายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน  
อภิปรายผล
1.การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
ค่าดัชนีมวลกายทั้งเพศหญิงและชายของบุคลากรโรงพยาบาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่จากากการทดสอบสัดส่วนเอวต่อสะโพก (WHR) เพศหญิงและชายอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงปานกลางและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ที่เสี่ยงสูง ดังนั้นการวัดแค่ค่าดัชนีมวลกายไม่สามารถบอกได้ว่าบุคลากรมีองค์ประกอบร่างกายที่เหมาะสม ควรมีการทดสอบโดยการวัดด้านอื่นๆร่วมด้วย เพราะว่าแม้บางคนจะรูปร่างผอมบ้างแต่เมื่อทดสอบสัดส่วนเอวต่อสะโพกก็เสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง และยังพบว่าบางคนที่มีรูปร่างผอมบ้างก็พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ไขมันที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
2.การแนะนำในการออกกำลังกาย
ควรมีการออกกำลังกายที่เป็นรูปแบบการฝึกความทนทานของระบบหายใจและไหลเวียนเลือดเพิ่มเติม มีความหนักที่เหมาะสม เช่นชีพจรขณะออกกำลังกายควรอยู่ที่ระดับ 60-80% ของชีพจรสูงสุด ความบ่อยในการออกกำลังกายควรทำสะสมให้ได้อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ แต่สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักควรทำอยู่ที่ 250 นาที/สัปดาห์เป็นต้นไป หรือออกกำลังกายประมาณ 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ เวลาในการออกกำลังกายมี่แนะนำอยู่ที่ 30-60 นาที ส่วนกิจกรรมโรงพยาบาลวาปีปทุมได้มีการจัดกิจกรรมแอโรบิค แด๊นซ์, บัดสโลปอยู่แล้ว ถือว่าเป็นกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี
แผนภูมิที่ 4 การทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวโดยการนั่งงอตัว
จากแผนภูมิที่ 4 การทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลังช่วงล่างโดยการนั่งงอตัว (sit and reach test)
การนั่งงอตัว (sit and reach test) ของเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.38 เซนติเมตร เพศชายมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.81 เซนติเมตร เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์สมรรถภาพทางการนั่งงอตัวของประชาชนไทยอายุ 15-59ปีของกรมพลศึกษา (2556)พบว่าค่าเฉลี่ยผู้เข้าร่วมการทดสอบสมรรถภาพทางกายทั้งเพศหญิงและชายอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
อภิปรายผล
1.การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
สมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวของบุคลากรที่เข้าทำการทดสอบร่างกายของเพศหญิงและชายอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่ารูปแบบการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่วนใหญ่นั่งทำงานอยู่กับที่ ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวหรืออีกส่วนหนึ่งแม้บางคนจะมีการเคลื่อนไหวแต่ก็ขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงทำให้เกิดปัญหาข้อติดขัด กล้ามเนื้อขาดความยืดหยุ่น และจะส่งผลให้อนาคตมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ลำบาก
2.การแนะนำในการออกกำลังกาย
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปค่อนข้างละเลย ไม่ให้ความสำคัญ ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายที่ดีขึ้น ก่อนเริ่มกิจกรรมออกกำลังกาย/กิจกรรมทางกายควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการอบอุ่นร่างกายใช้เวลาอย่างน้อย 5-10 นาที ในปัจจุบันมีการยืดเหยียดแบบหนึ่งที่ใช้ก่อนออกกำลังกายและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวได้ นั้นก็คือการยืดเหยียดแบบเคลื่อนไหว (Dynamic Stretching) เป็นการเหยียดกล้ามเนื้อแบบเคลื่อนที่โดยการทำช้าๆ จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ มีความพร้อมในการออกกำลังกายดีกว่าการยืดแบบอยู่กับที่ (Static Stretching) โดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่นั้นหากจะทำร่วมกับการอบอุ่นร่างกายก็ไม่ผิด เพียงแต่จะทำให้มีประสิทธิภาพในการออกกำลังกายน้อยกว่าการยืดเหยียดแบบเคลื่อนไหวเท่านั้นเอง การยืดเหยียดแบบอยู่กับที่มีคำแนะนำจากสถาบันเวชศาสตร์การกีฬาแห่งอเมริกาบอกว่าควรทำหลังจากออกกำลังกายเสร็จเพราะจะส่งผลให้การเนื้อมีความผ่อนคลาย ป้องกันการบาดเจ็บ โดยการเหยียดแบบอยู่กับที่นั้นจะแบ่งได้เป็นอีก 2 แบบ คือ เหยียดจากแรงกระทำภายใน (Active-Static Stretching) คือการเหยียดด้วยตนเองไม่มีผู้ช่วยหรืออุปกรณ์มาช่วยในการยืดเหยียด การเหยียดแบบนี้จะค่อนข้างปลอดภัยเพราะผู้เหยียดจะทราบข้อจำกัดของตนเอง อีกรูปแบบหนึ่งคือ การเหยียดแบบมีแรงกระทำจากภายนอก (Passive-Static Stretching) คือการเหยียดแบบมีตัวช่วย ผู้ช่วยหรืออุปกรณ์ต่างๆมาช่วยเหยียด การเหยียดแบบนี้จะส่งเสริมให้มีความอ่อนตัวดีขึ้นเพราะมีการยืดเหยียดที่มากกว่าเดิม ส่วนการยืดเหยียดแบบอื่นๆที่นอกเหนือจากก่อนกิจกรรมออกกำลังกายก็ควรมีการเปลี่ยนอิริยาบถการทำงานลุกขึ้นมายืดเหยียดกล้ามเนื้อเสมอ โดยใช้เวลาในการเหยียดแต่ละท่าค้างไว้ 10-15 วินาที
กิจกรรมที่ทางโรงพยาบาลวาปีปทุมจัดให้บุคลากรมีการออกกำลังกายโดยการฝึกโยคะนั้นเป็นสิ่งดีมาก และควรกระตุ้นให้เกิดความสนใจ ให้มีคนเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น
แผนภูมิที่ 5 การทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความทนทานของกล้ามเนื้อ
จากแผนภูมิที่ 5 การทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความทนทานของกล้ามเนื้อ วัดความทนทานของกล้ามเนื้อขาโดยการยืนลุกนั่ง 1 นาทีและวัดความทนทานของกล้ามเนื้ออกโดยการดันพื้น 1 นาที
การยืนลุกนั่ง ของเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50.55 ครั้ง/นาที เพศชายมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 54.38 ครั้ง/นาที  เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์สมรรถภาพทางการยืนลุกนั่งของประชาชนไทยอายุ 15-59ปีของกรมพลศึกษา (2556)พบว่าค่าเฉลี่ยผู้เข้าร่วมการทดสอบสมรรถภาพทางกายทั้งเพศหญิงและชายอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
การดันพื้น ของเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50.55 ครั้ง/นาที เพศชายมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 54.38 ครั้ง/นาที  เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์สมรรถภาพทางกายการดันพื้นของประชาชนไทยากการกีฬาแห่งประเทศไทย (2543)พบว่าค่าเฉลี่ยผู้เข้าร่วมการทดสอบสมรรถภาพทางกายทั้งเพศหญิงและชายอยู่ในเกณฑ์ดี
อภิปรายผล
1.การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
สมรรถภาพทางกายด้านความทนทานของกล้ามเนื้อบุคลากรที่เข้าทำการทดสอบร่างกาย แบ่งเป็นการทดสอบช่วงล่างได้แก่การยืนลุกนั่ง 1 นาที การทดสอบความทนทานของกล้ามเนื้อช่วงล่างได้แก่การดันพื้น 1 นาที อยู่ในเกณฑ์ดีมากและดีตามลำดับ
2.การแนะนำในการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายฝึกความทนทานของกล้ามเนื้อหรือฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ อยู่ในกิจกรรมที่เรียกว่าการฝึกด้วยแรงต้าน(Resistance training) เป็นการออกกำลังกายที่มีความสำคัญที่จะทำให้บุคลากรสามารถทำกิจกวัตรประจำวันได้ดี และผลของการฝึกด้วยแรงต้านจะส่งผลให้บุคลากรโรงพยาบาลมีสัดส่วนร่างกายที่ดี รูปร่างและบุคลิกภาพดี การฝึกรูปแบบนี้จะทำให้มีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งการที่บุคคลมีมวลกล้ามเนื้อที่ดีนั้นจะช่วยในการเผาผลาญไขมันได้ การออกกำลังกายด้วยแรงต้านที่สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาแนะนำ คือ การฝึกด้วยน้ำหนักตนเอง การฝึกรูปแบบนี้บุคลากรจะไม่เสียเงินในการไปซื้ออุปกรณ์แพงๆ สามารถออกกำลังกายได้ทุกที่ ทุกเวลาตามสะดวก ท่าที่แนะนำสามารถใช้อุปกรณ์หรือสิ่งรอบข้างเค้ามาช่วยได้ เช่น เก้าอี้ โต๊ะทำงาน โดยในโครงการนี้ท่าที่แนะนำก็มีทั้งท่าฝึกกล้ามเนื้อขา สะโพก ต้นขาด้านข้าง อก หลังล่าง และแขนด้านหลัง โดยผู้ที่ต้องการให้มีกล้ามเนื้อกระชับแข็งแรง ควรออกกำลังกายประมาณ 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ เล่นท่าละ 12-15 ครั้ง/เซต ฝึกอย่างน้อย 3-4 เซต หากฝึกควบคู่ไปกับการออกกำลังกายความฝึกทนทานของระบบหายใจและไหลเวียนเลือดด้วยนั้น จะทำให้ร่างกายมีการสุขภาพที่ดี มีการลดน้ำหนักตัวหรือไขมันร่วมถึงกล้ามเนื้อที่กระชับอย่างเหมาะสม
และทางโรงพยาบาลวาปีปทุมได้จัดให้บุคลากรมีการออกกำลังกายโดยการฝึกแรงต้านโดยที่มีฟิตเนสไว้คอยบริการนั้นเป็นสิ่งดีมาก และหากมีการฝึกออกกำลังกายด้วยน้ำหนักตนเองเพิ่มเข้าไปก็จะส่งผลให้มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ดีขึ้น ลดความหนาแน่นของผู้ใช้บริการฟิตเนสในชั่วโมงเร่งด่วน เพราะการฝึกด้วยแรงต้านด้วยน้ำหนักตนเองสามารถฝึกได้ทุกที่ ทุกเวลา
แผนภูมิที่ 6 การทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านระบบหายใจและไหลเวียนเลือด
จากแผนภูมิที่ 6 การทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความทนทานของระบบหายใจและไหลเวียนเลือด โดยการเดินขึ้นลง Step 3 นาที และวัดชีพจรหลังการทดสอบ
การเดินขึ้นลง Step 3 นาที และวัดชีพจรหลังการทดสอบ เพศหญิงมีค่าเฉลี่ยชีพจรอยู่ที่ 131.05 ครั้ง/นาที เพศชายมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 139.83 ครั้ง/นาที  เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์สมรรถภาพทางการเดินขึ้นลง Step 3 นาที ของประชาชนไทยอายุ 15-59ปีของกรมพลศึกษา (2556)พบว่าค่าเฉลี่ยผู้เข้าร่วมการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพศหญิงและเพศชายอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
อภิปรายผล
1.การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
สมรรถภาพทางกายด้านความทนทานของระบบหายใจและไหลเวียนเลือด โดยการเดินขึ้นลง Step 3 นาที และวัดชีพจรหลังการทดสอบอยู่ในเกณฑ์ต่ำทั้งหญิงและชาย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า
2.การแนะนำในการออกกำลังกาย
ถึงแม้จะมีการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค แด๊นซ์อย่างสม่ำเสมอแต่ก็พบว่าบุคลากรที่เข้าทำการทดสอบมีสมรรถภาพทางกายอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าเราไม่สามารถกำหนดให้บุคลากรที่ร่วมออกกำลังกายฝึกตามความหนักได้เท่าผู้นำเต้นทุกคน ดังนั้นวิธีการแนะนำอีกรูปแบบหนึ่งที่อาจทำให้บุคลากรเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น คือ การกำหนดความหนัก (Intensity) ของกิจกรรมออกกำลังกาย เช่น
กำหนดความหนักจากชีพจรสูงสุด ให้ผู้เข้าร่วมออกกำลังกายมีชีพจรขณะออกกำลังกายอยู่ที่ 60-80% ของชีพจรสูงสุด โดยการจับชีพจร 15 วินาทีที่บริเวณข้อมือทางหัวนิ้วโป้ง นำค่าที่จับได้ไปคูณ 4 จะได้ค่าชีพจรออกกมาและนำไปเปรียบว่าอยู่ในเกณฑ์ 60-80% ของชีพจรสูงสุด แต่วิธีการนี้อาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาด เช่นความแม่นยำของการวัดสูง ความไม่สะดวกของการวัด เป็นต้น
กำหนดจากการสอบถาม สังเกตคำพูด จากตอนออกกำลังกาย วิธีนี้เป็นวิธีง่ายที่สุด โดยหากเราออกกำลังกายยังสามารถพูดเป็นบทสนทนาได้แสดงว่าความหนักในการฝึกยังไม่เหมาะสม แต่หากมีการพูดได้เพียงเป็นคำๆ แสดงว่าความหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
การออกกำลังกายฝึกความทนทานของระบบหายใจและไหลเวียนเลือดเป็นการฝึกที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยในการลดไขมัน ลดน้ำหนักตัว ที่อาจจะส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื่อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นควรมีการจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ผลจากการออกกำลังกายรูปแบบนี้จะทำให้ชีพจรขณะพักลดลง นั้นหมายความว่าคุณมีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้นสามารถทำกิจกรรมต่อเนื่องได้ ด้านกายภาพมีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง รูปร่างจะมีสัดส่วนที่เล็กลง เพราะไขมันในร่างกายถูกเผาผลาญ ดังนั้นสิ่งที่ทางโรงพยาบาลได้ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค แด๊นซ์ ถือว่าดีมาก แต่บุคลากรที่มาออกกำลังกายต้องทำให้ตนเองมีการฝึกที่อยู่ในเกณฑ์ความหนักที่เหมาะสมให้ได้
ข้อเสนอแนะ
1.ควรมีการกระตุ้น/ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรมาออกกำลังกายในรูปแบบการฝึกความทนทานของระบบหายใจและไหลเวียนเลือด การฝึกด้วยแรงต้าน และการฝึกความอ่อนตัวเพิ่มเติม
2.ควรมีการเพิ่มรูปแบบกิจกรรมการฝึกความทนทานของระบบหายใจและไหลเวียนเลือดมากขึ้น เช่น ปกติ มี แอโรบิค แด๊นซ์ ก็อาจจะมีรูปแบบอื่นๆที่สนุกสนานไปด้วย เช่น ซุมบ้า เป็นต้น
3.ควรมีการเพิ่มรูปแบบกิจกรรมการฝึกด้วยแรงต้านมากขึ้น เช่น ปกติ มี ฟิตเนสไว้คอยบริการ ก็อาจจะมีรูปแบบอื่นๆ เช่นการฝึกด้วยน้ำหนักตนเองตามคำแนะนำ เป็นต้น
4.ควรมีการเพิ่มรูปแบบกิจกรรมการฝึกความอ่อนตัวมากขึ้นนอกเหนือจากโยคะ เช่นการยืดเหยียดก่อนและหลังการออกกำลังกายที่ส่งผลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การยืดเหยียดในขณะนั่งทำงานขณะเปลี่ยนอิริยาบถการทำงาน
5.ควรมีการสำรวจและทดสอบหรือประเมินผลสมรรถภาพทางกายอย่างสม่ำเสมอ เช่นใช้สายวัดวัดเอวและสะโพกทุกๆสัปดาห์ การตรวจเปอร์เซ็นต์ไขมันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการสร้างแรงกระตุ้นหรือแรงจูงในในการออกกำลังกาย
                6.สำหรับบุคลากรที่ไม่สะดวกในการออกกำลังกายที่ทางโรงพยาบาลจัดขึ้นมาแต่มีความต้องการออกกำลังกาย/กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ ก็ควรมีสื่อหรือข้อมูลมอบให้ อาจจะเป็นข้อมูลออนไลน์เพื่อให้ทางบุคลากรที่สนใจดาวน์โหลดไปศึกษาเอง โดยกิจกรรมตรงส่วนนี้ทางสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาจะสนับสนุนและนำสื่อออกกำลังกายให้แก่ทางโรงพยาบาล
คณะผู้จัดทำโครงการ
ที่ปรึกษา
1.นายแพทย์ประพันธ์ สุนทรปกาศิต    ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวาปีปทุม
2.รองศาสตราจารย์สมชาย วงษ์เกษม  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรวาท ทองบุ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผู้จัดทำ
1.อาจารย์ศุภนิธิ ขำพรหมราช            ประธานสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
2.อาจารย์ประเสริฐ ชมมอญ              อาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
3.นางเกษราพร แก้วลาย    พยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงพยาบาลวาปีปทุม      
4.นางวนิดา อ่องจุ้ย            พยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงพยาบาลวาปีปทุม
5.นายวิชัย ผาสุก                                นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
6.นางสาวเจนจิรัตน์ เจนช่วยชาติ       นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
7.นายกวีชัย ปั้นทอง                          นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
8.นายทักษ์ดนัย นุ่นไทย                    นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
9.นายธนากร ยิ่งประกาย                    นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
10.นายธนพงษ์ คำประชม                  นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา

ความคิดเห็น